Page 168 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 168

๑๔๑



                                       (๔) ในการพิสูจน์สิทธิต้องให้ความเป็นธรรมกับประชาชน ซึ่งผลการพิสูจน์สิทธิ

                   ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ พบว่า มีพื้นที่ท ากินน้อยมาก เนื่องจากอุทยาน
                   แห่งชาติใต้ร่มเย็น ใช้พื้นที่ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งแผนที่ปีนั้นใช้การวัดความชื้น สีเข้ม

                   ถือว่าเป็นพื้นที่ป่า ถ้าสีน้ าตาลแสดงว่ามีร่องรอยการท าประโยชน์ แต่ภาพถ่ายดังกล่าวไม่สามารถแยกแยะ
                   สวนผสมของชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่าได้ ดังนั้น จึงควรใช้หลักฐานอื่นมาประกอบ และใช้ภาพถ่าย

                   ทางอากาศปี พ.ศ. ๒๕๔๕ แทน

                                       (๕) ผ่อนผันให้ประชาชนได้ท ากินโดยไม่มีการจับกุมด าเนินคดี จนกว่าการตรวจ
                   พิสูจน์สิทธิยังไม่เสร็จสิ้น และการแก้ไขปัญหายังไม่ได้ข้อยุติ ส่วนที่พิสูจน์สิทธิเสร็จสิ้นแล้วให้ด าเนินการไป

                   ก่อน รวมถึงการผ่อนผันให้ประชาชนตัดโค่นต้นยางพาราที่หมดอายุการกรีดน้ ายางได้


                          4.๑.๗ กรณีแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยซ้อนทับที่อยู่อาศัยและที่ดินท ากิน
                                 ของประชาชน ต าบลพนางตุง อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และพื้นที่

                                 ต าบลแหลม อ าเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช


                                 (๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่

                                       การประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และปรับแนวเขต

                   เพิ่มเติม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นการประกาศตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง
                   สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าตามธรรมชาติรวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่กระทบต่อการใช้

                   ที่ดิน ท าให้การประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ครอบคลุมทั้งพื้นที่ป่า ที่ดินถือครองที่มีเอกสารสิทธิ
                   และไม่มีเอกสารสิทธิ และพื้นที่ตั้งชุมชน ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.

                   ๒๕๓๕ ห้ามมิให้มีการครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท าให้ส่งผลกระทบ
                   ต่อประชาชนที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินที่ครอบครองท าประโยชน์มาก่อนการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเล

                   น้อยต้องสูญเสียสิทธิและเป็นผู้ครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย

                                 (๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน

                   ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา

                                       ความเป็นมาและสภาพปัญหา

                                       เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘
                   และมีการประกาศก าหนดแนวเขตใหม่อีก ๒ ครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และปี พ.ศ. ๒๕๒๕  มีเนื้อที่รวม

                   ๒๘๕,๖๒๕ ไร่  ครอบคลุมพื้นที่ ๕ อ าเภอ ๓ จังหวัด ได้แก่ อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อ าเภอชะอวด

                   อ าเภอหัวไทร อ าเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ าเภอระโนด จังหวัดสงขลา (รูปที่ 4.10)

                                       มีชุมชนที่อาศัยอยู่และท ากินในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ประมาณ ๖๔,๐๐๐ คน
                   ครอบคลุมพื้นที่ ๕ อ าเภอ ๓  จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมจ านวน

                   ๕๐ หมู่บ้าน ๑๐ ต าบล ได้แก่ ต าบลพนางตุง ต าบลทะเลน้อย ต าบลแหลมโตนด อ าเภอควนขนุน จังหวัด
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173