Page 167 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 167
๑๔๐
(๓) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา
ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายหรือกฎหมาย
ในการประชุมรับฟังความเห็นของประชาชน ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘ มีประชาชนจากอ าเภอเวียงสระ อ าเภอนาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุรษฎร์ธานี
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น และส านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุม
จ านวน ๕๐ ราย ในที่ประชุมประชาชนได้น าเสนอถึงปัญหาการประกาศอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๓๔ ประชาชนไม่รับทราบข้อมูลข่าวสารใดๆ แม้กระทั่งความหมายของอุทยานแห่งชาติก็ยังไม่
เข้าใจ หลังจากประกาศอุทยานแห่งชาติไปแล้วประชาชนถึงทราบว่ามีการประกาศอุทยานแห่งชาติ
จากการห้ามเข้าไปท ากิน ประชาชนได้เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติออกจากพื้นที่
ท ากิน จนกระทั่งมีการส ารวจพื้นที่ถือครองของประชาชน เพื่อกันออกจากแนวเขตชัดเจนซึ่งใช้เวลานาน
หลายปี จนกระทั่งรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ท าให้แนวทางเดิมที่ให้มีการ
เพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนพื้นที่ท ากินนั้นต้องยุติลง
การใช้แนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ พบปัญหา
ในการพิสูจน์สิทธิ โดยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ผลการพิสูจน์สิทธิมีพื้นที่ท ากินน้อยมาก
เพราะการใช้ภาพถ่ายทางอากาศดังกล่าว ไม่สามารถแยกแยะพื้นที่สวนยางพาราของชาวบ้าน ซึ่งมีการ
ปลูกยางพาราในลักษณะผสมผสานกับไม้ท้องถิ่นและไม้ผลได้ ชาวบ้านจึงไม่เห็นด้วยกับการใช้ภาพถ่าย
ทางอากาศมาเป็นหลักฐานพิสูจน์สิทธิแต่เพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้น การด าเนินการพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐
มิถุนายน ๒๕๔๑ ยังมีความล่าช้า ทั้งยังมีปัญหาแนวเขตทับซ้อนระหว่างเขตอุทยานแห่งชาติกับเขตปฏิรูป
ที่ดิน ท าให้ประชาชนเดือดร้อนจากการถูกจับกุม และท ากินด้วยความไม่มั่นคง
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชน
(๑) ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการด าเนินการของรัฐ เพื่อปรับปรุงแนวเขต
ที่ดินของรัฐที่มีปัญหาทับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน หรือการ
ทับซ้อนระหว่างอุทยานแห่งชาติกับที่ดินท ากินของประชาชน
(๒) ให้หน่วยงานของรัฐด าเนินการกันแนวเขตที่ดินท ากินของประชาชนให้ชัดเจน
โดยการตั้งคณะกรรมการร่วมกัน ๓ ฝ่าย ระหว่างส านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด อุทยานแห่งชาติ
ใต้ร่มเย็น และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันส ารวจและปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น
(๓) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนทั้งการส ารวจรังวัดแนวเขต และการพิสูจน์สิทธิ
ไม่เฉพาะแต่ก านันผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น แต่ควรให้คณะกรรมการของเครือข่ายได้เข้าไปมีส่วนร่วมการพิสูจน์
สิทธิในที่ดินด้วย