Page 163 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 163

๑๓๖



               ถือครองท าประโยชน์ของประชาชนที่ทับซ้อนกับแนวเขตอุทยานฯ จ านวน ๒๘,๗๗๐ ไร่ และ

               คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติเห็นชอบในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวออกจากเขตอุทยานฯ
               ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไม่อาจด าเนินการต่อได้ เนื่องจาก

               รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ต้องใช้ผลการพิสูจน์การส ารวจการถือครอง
               ที่ดินของประชาชนในส่วนพื้นที่ที่มิได้กันออกเสียก่อน และยุติลงในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในช่วงนายสุวิทย์

               คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                                   ข้อยุติการปรับปรุงแก้ไขปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นดังกล่าว.ท าให้
               เกิดปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งขาติใต้ร่มเย็นทับซ้อนกับพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินในท้องที่ต าบลบ้านส้อง

               อ าเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวอยู่ในแนวเขตพื้นที่ที่ก าลังด าเนินการ
               เพิกถอนจากเขตอุทยานแห่งชาติ แต่เมื่อยังไม่มีการด าเนินการเพิกถอน จึงกลายเป็นปัญหาการทับซ้อน

               ระหว่างพื้นที่อุทยานแห่งชาติกับเขตปฏิรูปที่ดิน และปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อยุติแนวเขตร่วมกันของ
               ทั้งสองหน่วยงานได้ ท าให้ประชาชนที่ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินได้รับความเดือดร้อนถูกด าเนินคดี

               บุกรุกอุทยานแห่งชาติ

                              (๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน

               ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา

                                   ความเป็นมาและสภาพปัญหา

                                   อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น มีพื้นที่ประมาณ ๒๖๕,๖๒๕ ไร่ ประกาศให้เป็นอุทยาน

               แห่งชาติเมื่อในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอเวียงสระ อ าเภอนาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์
               จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบว่ามีการประกาศอุทยานแห่งชาติดังกล่าว จนกระทั่งในปี

               ถัดมาเจ้าหน้าที่อุทยานห้ามมิให้ประชาชนเก็บเกี่ยวพืชผลอาสิน และน าเครื่องมือการเกษตรเข้าไปในพื้นที่
               ประชาชนจึงทราบว่ารัฐได้ประกาศอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นทับซ้อนที่ดินท ากินของตน โดยหน่วยงาน

               ของรัฐไม่ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นมาก่อน

                                   ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการประกาศ
               อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อ าเภอเวียงสระ อ าเภอนาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

               ได้ร้องเรียนกับหน่วยงานรัฐให้แก้ไขแนวเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นที่ทับซ้อนที่ดินท ากินของประชาชน
               และจัดท าแนวเขตอุทยานแห่งชาติให้ชัดเจนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ทั้งที่ในระยะเวลาผ่านมา

               กระบวนการแก้ไขปัญหาได้ด าเนินการมาเกือบจะได้ข้อยุติ เหลือเพียงขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกา
               เพิกถอนที่ดินท ากินที่กันออกจากแนวเขตอุทยานฯ เท่านั้น แต่รัฐบาลได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

               โดยไม่ยอมรับมติหรือข้อตกลงที่ด าเนินการมาก่อนหน้า (รูปที่ 4.9)

                                   ทั้งนี้ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๘ เห็นชอบ

               ในหลักการให้ปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นที่ทับซ้อนที่ดินท ากินของประชาชน รวมเนื้อที่
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168