Page 158 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 158
๑๓๑
(๓) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา
ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายหรือกฎหมาย
ปัญหาแนวเขตที่ดินหวงห้ามหนองหาร เป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน และไม่มี
หน่วยงานใดสามารถชี้แนวเขตหนองหารตามพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินฯ พ.ศ. ๒๔๘๔
ที่ชัดเจนได้ เนื่องจากหนองหารเป็นพื้นที่ชุ่มน้ า ซึ่งในขณะนั้นเป็นการประกาศให้หนองหารเป็นที่บ ารุง
พันธุ์สัตว์น้ าไม่รวมที่ตั้งชุมชน เมื่อสร้างประตูน้ ากั้นแม่น้ าก่ าเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงเกิดปัญหาน้ าท่วม
ที่ดินของประชาชนที่ท านาบริเวณริมหนองหารมาแต่ดั้งเดิมก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จนไม่สามารถท านา
ได้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง กระทั่งมีการสร้างประตูน้ าเพื่อป้องกันน้ าท่วมอ าเภอเมืองในปี พ.ศ. ๒๕๓๖
ท าให้เกิดน้ าท่วมหนองหารอีกรอบ
ส าหรับพื้นที่หนองหารยังมีปัญหาการออกเอกสารสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในเขตพื้นที่หนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง แต่ที่ดินที่ประชาชนถือครองและใช้ประโยชน์มีมาก่อนแต่ไม่ได้
รับเอกสารสิทธิ ท าให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ในอดีตประชาชนไม่มีสิทธิในการออกมาเรียกร้อง
กระทั่งมีรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น ดังนั้น การก าหนดเขต
ที่ดินของรัฐที่ผ่านมา ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการกันพื้นที่ท ากินและที่ตั้งชุมชนออกจากแนวเขตที่ดิน
ของรัฐ ในขณะที่จ านวนประชากรก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับไม่สามารถชี้แนวเขตพระราชกฤษฎีกา
ก าหนดเขตหวงห้ามได้ ท าให้ประชาชนจ านวนมากเสียสิทธิในการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน
ในการประชุมรับฟังความเห็นที่จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๕๗ ประชาชน ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากชุมชนรอบหนองหาร พื้นที่ ๕ ต าบล
ในเขตอ าเภอเมือง และอ าเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร รวมถึงหน่วยของรัฐ ได้แก่ ส านักงานประมง
จังหวัด และส านักงานที่ดินจังหวัด จ านวน ๕๐ ราย มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอสรุปได้ ดังนี้
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชน
(๑) รัฐประกาศพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อ าเภอเมือง
สกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๔ ทับซ้อนพื้นที่ชุมชนเก่าแก่ ซึ่งตั้งถิ่นฐานมามาก่อนพระราช
กฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินฯ ดังนั้น หากชุมชนหรือประชาชนมีเอกสารหลักฐานแสดงได้ว่าอยู่มา
ก่อนการประกาศพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินดังกล่าว รัฐต้องออกเอกสารสิทธิให้ประชาชน
(๒) การที่ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการที่ดินและทรัพยากรในลุ่มน้ า
หนองหารซึ่งรวมถึงล าน้ าสาขาที่ไหลลงหนองหาร เช่น ล าน้ าพุง มีปัญหาการกัดเซาะของล าน้ าและ
เกิดตะกอนไหลลงหนองหารท าให้มีสภาพตื้นเขิน การจัดการที่ดินดังกล่าว ต้องเข้าใจและสอดคล้องกับ
นิเวศวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน
(๓) การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมเป็นพื้นฐานส าคัญโดยการตัดสินใจ
ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับแนวเขตพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขต