Page 159 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 159

๑๓๒



               หวงห้ามที่ดิน ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ และให้อ านาจการตัดสินใจร่วมกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและ

               ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน

                                   (๔) การมีนโยบายหรือกฎหมายเฉพาะ ส าหรับแก้ไขปัญหาแนวเขตหวงห้ามที่ดินฯ
               ทับซ้อนที่ตั้งชุมชนและพื้นที่ท ากิน รวมถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ า

               หนองหาร ทั้งต้นน้ า กลางน้ า และปลายน้ า โดยทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องท างานร่วมกับ
               ประชาชนในท้องถิ่น


                       4.๑.๕ กรณีการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไท พื้นที่บ้านกลาง

                              ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง


                              (๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่

                                   กรณีศึกษานี้เป็นกรณีเดียวที่อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติ

               ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลและหน่วยงานรัฐได้ด าเนินการตรวจสอบแนวเขตที่มีการส ารวจพื้นที่ และ
               ตรวจสอบการทับซ้อนแนวเขตกับหน่วยงานอื่นอย่างละเอียดรอบคอบที่ชัดเจนมากขึ้น โดยส านัก

               เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือไปถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ถือปฏิบัติตาม
               แนวทาง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

               เกี่ยวกับการร่างพระราชกฤษฎีกาก าหนดบริเวณที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าไม้
               อื่นๆ โดยให้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินในเขตนั้นอย่างรอบคอบก่อน

                                   ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ว่า ในการเสนอร่าง

               พระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตที่ดินที่มีการทับซ้อนกับแนวเขตที่ได้ก าหนดไว้ให้เป็นพื้นที่ด าเนินการตาม

               กฎหมายอื่น หน่วยงานเจ้าของเรื่องต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติเสียก่อน

                                   อย่างไรก็ดี มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ยังไม่สามารถยุติปัญหาทับซ้อนแนวเขตที่ดิน
               ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ปัจจุบันไม่มีการออกนโยบายให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในตรวจสอบหรือ

               ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ

                              (๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน

               ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา

                                   ความเป็นมาและสภาพปัญหา

                                   ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนจากการทับซ้อนพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ท ากิน
               ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยชุมชนไม่รับทราบรับทราบข้อมูลการด าเนินการของหน่วยงานรัฐ และ

               รับทราบเมื่อรัฐได้ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนไปแล้ว เป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะโต้แย้งเพื่อให้รัฐ

               ปรับปรุงแก้ไขแนวเขตภายหลัง ท าให้ประชาชนกลายเป็นผู้ผิดกฎหมาย ถูกด าเนินคดี ยึดที่ดินท ากิน และ
               พืชผลถูกท าลาย เป็นปัญหาที่ชุมชนในพื้นที่บ้านกลาง ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง เกรงว่า
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164