Page 154 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 154
๑๒๗
จึงเป็นปัญหาเมื่อรัฐต้องการออกหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวงในพื้นที่บริเวณ
หนองหาร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงต้องส ารวจหาแนวเขตขึ้นใหม่ โดยมีเนื้อที่ ๗๖,๓๑๗ ไร่ น้อยกว่าเนื้อที่
ตามแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ และพบว่า ในปัจจุบันมีแนวเขตทับซ้อนพื้นที่ชุมชนถึง ๔๕ หมู่บ้าน
บางต าบลมีพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมด ทั้งนี้ ส านักงานที่ดินจังหวัดสกลนครได้ตรวจสอบล่าสุด พบว่า มีการออก
เอกสารสิทธิในที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มีจ านวนประมาณ ๓๐,๐๐๐ แปลง
(๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน
ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา
ความเป็นมาและสภาพปัญหา
หนองหารสกลนคร เป็นแหล่งน้ าธรรมชาติที่ส าคัญของชาวสกลนครมาตั้งแต่อดีต
ทั้งการเป็นแหล่งจับสัตว์น้ า การใช้ที่ดินริมหนองหารท านาปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง และเป็นแหล่งน้ าประปา
เมืองสกลนครในปัจจุบัน การขยายตัวของเมืองและชุมชน การใช้ประโยชน์จากหนองหารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของหนองหาร รวมถึงปัญหาที่ดินและที่ตั้งชุมชน
ริมหนองหารทับซ้อนกับแนวเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่
อ าเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๔ และแนวเขตตามหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง
ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ในเขตอ าเภอเมืองสกลนคร และอ าเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
“หนองหาร” มีเนื้อที่ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้าม
ที่ดิน พ.ศ. ๒๔๘๔ ประมาณ ๑๑๙,๗๓๒ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา ในปัจจุบันมีแนวเขตทับซ้อนพื้นที่ชุมชน
รวมจ านวน ๔๕ หมู่บ้าน ๑๓ ต าบล ซึ่งอยู่ในเขตอ าเภอเมืองสกลนคร ๓๓ หมู่บ้าน ๙ ต าบล และอ าเภอ
โพนนาแก้ว ๑๒ หมู่บ้าน ๔ ต าบล
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หนองหารได้มีการออกหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง (น.ส.ล.)
จ านวน ๒ แปลง แปลงที่ ๑ เนื้อที่ ๗๖,๓๑๗ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา (น.ส.ล. เลขที่ ๐๖๒๓ ลงวันที่ ๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐) แปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๖๘๙ ไร่ ๓ งาน ๓๓ ตารางวา (น.ส.ล. เลขที่ ๐๖๒๔ ลงวันที่ ๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐) คงเหลือพื้นที่ ซึ่งยังไม่ได้ออก น.ส.ล. เนื้อที่ประมาณ ๔๒,๗๑๖ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา
ทั้งนี้ พื้นที่หนองหารได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ เมื่อวันที่ ๓๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เนื้อที่ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ทราบอาณาเขตที่แน่นอนเพราะ
ตามทะเบียนที่สงวนไว้เพื่อเป็นที่สาธารณประโยชน์ ระบุขอบเขตว่าจดขอบหนองทั้งสี่ด้าน คือ
- ทิศเหนือ กว้าง ๒๓๗ เส้น จดหลักเขตตามขอบหนอง ต าบลนาแก้ว ต าบลท่าแร่
- ทิศใต้ กว้าง ๑๖๒ เส้น จดหลักเขตตามขอบหนอง ต าบลท่าวัด ต าบลดงชน
ต าบลงิ้วด่อน
- ทิศตะวันออก กว้าง ๒๓๗ เส้น จดหลักเขตตามขอบหนอง ต าบลนาแก้ว ต าบล
ท่าวัด