Page 153 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 153
๑๒๖
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชน
(๑) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดหรือการปรับปรุงแนวเขตที่ดิน
ของรัฐจะต้องได้รับการยอมรับในทางกฎหมาย และต้องก าหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
(๒) การสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม ในกรณีพื้นที่ที่มีปัญหาการจับกุมด าเนินคดี
จ าเป็นต้องคลี่คลายปัญหาในเรื่องคดีความ และปัญหาทางกฎหมาย เช่น การใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ในเขต
ปฏิรูปที่ดิน การท าประโยชน์ในพื้นที่ลาดชันเกิน ๓๕% หรือการเปลี่ยนสิทธิการถือครองที่ดิน เนื่องจาก
พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว เป็นต้น
(๓) รัฐต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการสงวนหวงห้ามที่ดิน เนื่องจากจ านวน
ประชากรเพิ่มจ านวนมากขึ้น และประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจไปอย่างมาก แต่ยังใช้แนวคิดสงวน
หวงห้ามที่ดินของรัฐไว้เหมือนกับในยุคที่ประชากรมีจ านวนน้อย และเศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็น
แนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงปัจจุบัน
(๔) การใช้แนวเขตที่ประชาชนมีส่วนร่วมและยอมรับ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มาเป็น
บรรทัดฐานในการปรับปรุงแนวเขต เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว
(๕) การเร่งปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยการตั้งคณะกรรมการที่ทุกฝ่าย
ยอมรับ และมีอ านาจในการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียวเป็นการเฉพาะ
(๖) เสนอให้หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และภาคประชาชน ร่วมกันท างานวิจัยพื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว
เป็นตัวอย่างน าร่องในการจัดการที่ดิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลส าหรับการตัดสินใจในทางนโยบาย ในการแก้ไข
ปัญหาการทับซ้อนพื้นที่ของรัฐและประชาชน โดยต้องชะลอการบังคับใช้กฎหมายไว้ก่อน
(๗) การปรับปรุงแก้ไขแนวเขตต้องด าเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานรัฐ
สร้างการมีส่วนร่วมและรับฟังประชาชน มากกว่าการให้นักการเมืองในรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ
4.๑.๔ กรณีแนวเขตหวงห้ามที่ดิน และหนังสือส าคัญที่หลวง (น.ส.ล.) ทับซ้อน
ที่อยู่อาศัยและที่ดินท ากิน พื้นที่หนองหาร อ าเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
(๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่
หนองหาร เป็นหนองน้ าธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์
มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยรัฐได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งในขณะนั้น
ระบุขอบเขตว่าจดขอบหนองทั้ง ๔ ด้าน จึงไม่ทราบแนวเขตที่แน่นอน เพียงแต่ระบุความกว้างเป็น “เส้น”
ซึ่งสามารถค านวณเนื้อที่ได้ประมาณ ๔๘,๕๗๐ ไร่ จากนั้นจึงได้มีพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้าม
ที่ดิน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๑๙,๗๓๒ ไร่ แต่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถชี้ระวังแนวเขต
ที่ชัดเจนตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ได้