Page 73 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 73
การพิจารณารับข้อร้องเรียน
มาตรวจสอบหาข้อเท็จจริง
ในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายเฉพาะที่ว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะสามารถจัดการข้อร้องเรียนได้อย่างไร ทั้งนี้
โดยทั่วไปจะก�าหนดไว้ในประเด็นที่อาจมีความแตกต่างกันได้ เช่น ข้อจ�ากัดเวลา การไม่รับข้อร้องเรียนที่เกิดจากเจตนา
ไม่ดี การไม่รับข้อร้องเรียนที่ต่อต้านรัฐสภาหรือศาล และการไม่รับข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไขหรือตัดสินแล้ว โดยทั่วไป
แนวทางในการพิจารณาว่าจะรับข้อร้องเรียนนั้น มีดังนี้
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ�านาจพิจารณา
ปัญหาหรือประเด็นนั้น ๆ หรือไม่
มีหน่วยงานหรือสถาบันอื่นที่เหมาะสมกว่าในการ
แก้ไขข้อกล่าวหานั้นหรือไม่
ปัญหาหรือข้อร้องเรียนดังกล่าวควรส่งไปยัง
หน่วยงานอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ กฎหมายควรก�าหนด
อ�านาจทางกฎหมายของสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิด
ความซ�้าซ้อนของความสามารถระหว่างองค์กรที่มี
อ�านาจในการแก้ไขปัญหานั้น
มีข้อร้องเรียนที่ไม่มีสาระส�าคัญและเป็นการใช้
สิทธิร้องเรียนที่ไม่บริสุทธิ์หรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สามารถปฏิเสธข้อร้องเรียนบนพื้นฐานเบื้องต้นที่
พิจารณาแล้วว่า เป็นกรณีที่เกิดจากเจตนาที่ไม่
บริสุทธิ์ หรือไม่มีมูล
หากสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตัดสินใจที่จะไม่ตรวจสอบข้อร้องเรียน ก็จ�าเป็นต้องแจ้งผู้ร้องเรียนให้ทราบถึง
เหตุผลในการปฏิเสธ และเสนอกระบวนการทางเลือกอื่นที่มี ไม่ควรให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาหรือแจ้งการ
ปฏิเสธข้อร้องเรียน การด�าเนินการที่รวดเร็วในขั้นตอนเบื้องต้นนี้จะท�าให้ผู้ร้องเรียนมั่นใจว่าสามารถได้รับประโยชน์
จากแนวทางการแก้ไขที่หลากหลายอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ของสถาบันฯ ในฐานะที่เป็นหน่วยงาน
ที่มีความสามารถและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน
72
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ