Page 67 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 67
4.2 ความเชื่อมโยงกับกระบวนการยุติธรรม
เพื่อให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถด�าเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และถูกต้องตามกฎหมาย จ�าเป็นต้องมีการก�าหนดในกฎหมายถึงหน้าที่รับผิดชอบ และอ�านาจหน้าที่ โดยยึดตามหลักการ
ปารีสเป็นส�าคัญ ดังนี้
ความสามารถ ความสามารถในการ
ในการเผยแพร่ ตรวจสอบและพิจารณา อ�านาจในการ
ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สถานการณ์ ตรวจสอบและเสนอ
และรายงาน มาตรการการแก้ไข
4.2.1 ความสามารถในการเผยแพร่ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอ และรายงานที่เกี่ยวกับบทบัญญัติ
ทางกฎหมายหรือทางปกครอง รวมถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตุลาการ เพื่อคงไว้และขยายขอบเขต
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่ในการตรวจสอบบทบัญญัติทางกฎหมาย
และทางปกครองที่มีผลใช้บังคับอยู่ รวมถึงร่างกฎหมายและข้อเสนออื่น ๆ และให้ข้อเสนอแนะตามที่เห็น
สมควรเพื่อยืนยันว่าบทบัญญัติเหล่านั้นสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ หากจ�าเป็นสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจเสนอ
ให้มีการรับรองกฎหมายใหม่
ให้มีการแก้ไขกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ และ
ให้มีการออกหรือแก้ไขมาตรการทางการปกครอง
4.2.2 ความสามารถในการตรวจสอบและพิจารณาสถานการณ์ใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นควรหยิบยกขึ้นพิจารณา หรือการละเมิดที่มาจากข้อร้องเรียน กรณีที่ต้อง
รับไว้พิจารณาตรวจสอบมีดังนี้
กรณีที่กระท�าหรือละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศ หรืออันไม่เป็นไป
ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่เป็นภาคี
กรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชน หรือมีกฎ ค�าสั่ง หรือ
กระท�าอื่นใดในการปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ผู้เสียหายขอให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เพื่อแก้
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของส่วนรวม
66
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ