Page 92 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 92
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 91
เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว
ระยะที่ ๑ เป็นการชั่วคราวประกาศ คสช. ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ และฉบับที่ ๑๑๘/๒๒๕๗ เรื่องมาตรการ
ชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ประกาศ คสช. ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗ ฉบับที่
๙๔/๒๕๕๗ และฉบับที่ ๑๑๗/๒๕๕๗ เรื่องการจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ
๓๘
(One Stop Service) นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้มีการผลักดันกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงาน
้
ประมงทะเล พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งประกาศใช้ และอยู่ระหว่างการทำาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นยำาว่า
นอกจากการกำาหนดกฎหมายแล้ว ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และการปฏิบัติที่เข้มงวด
ในกรณีปัญหาการค้ามนุษย์ หลังจากที่ประเทศไทยถูกลดระดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ ๓
(Tier 3) เห็นว่า รัฐบาลมีความตื่นตัวอย่างสูงในการบังคับใช้กฎหมายและแก้ปัญหากระบวนการค้ามนุษย์
ที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นของไทยเกี่ยวข้อง กสม. เห็นว่า การที่รัฐบาลกำาลังเร่ง
ดำาเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในขณะนี้ควรดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง และขอให้คำานึงถึงการช่วยเหลือ
เยียวยาเหยื่ออย่างเหมาะสมด้วย
ในกรณีของสิทธิที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ แม้ว่าภาครัฐจะพยายามแก้ไขปัญหา
ด้วยการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ ทั้งที่อยู่ในรูปของแฟลตหรือที่อยู่อาศัยนอกเมือง แต่ก็อาจไม่เหมาะสม
กับวิถีการดำารงชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ปัญหาสิทธิในที่อยู่อาศัยนั้นครอบคลุมถึงความมั่นคง
ทั้งของครอบครัว และของปัจเจกบุคคล ทั้งคนจนในเมืองและในชนบทที่สูญเสียที่ดิน ทั้งเป็นที่ทำากิน
และที่อยู่อาศัยในเวลาเดียวกัน คนมีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมกับ
สภาพการดำาเนินชีวิตหรือแม้แต่มาตรฐานที่เหมาะสม ไม่สามารถสร้างครอบครัวที่มีความมั่นคงได้
ดังนั้น การที่รัฐต้องประกันคุ้มครองสิทธิในที่อยู่อาศัยนั้น จึงไม่จำากัดแค่การจัดสร้างบ้านให้กลุ่มผู้มี
รายได้น้อย-ปานกลางในราคาที่เข้าถึงได้เพียงอย่างเดียว แต่อาจต้องคำานึงถึงความเหมาะสมต่อแนวทาง
การดำารงชีวิต ตลอดจนการกระจายที่ดินซึ่งเป็นทั้งที่ทำากินและที่อยู่อาศัยในชนบท การเข้าถึงระบบ
การกู้ยืมเงิน ความสามารถในการผ่อนชำาระที่ไม่เป็นภาระมากจนเกินควร เป็นต้น
ในการจัดระเบียบด้านต่าง ๆ ของ คสช. นั้น แม้ว่ารัฐจะมีเจตนารมณ์ที่ดีในการบังคับใช้
กฎหมาย แต่ในการนำานโยบายไปปฏิบัตินั้นควรกำาชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ต้องคำานึงถึง
ผลกระทบต่อประชาชน ผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำากิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ
รวมถึงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ร่วมกัน และกำาจัดอิทธิพลเหนือกฎหมายในพื้นที่
้
ในด้านความเหลื่อมลำาและการจัดสรรทรัพยากร รัฐต้องดำาเนินการอย่างจริงจังให้เกิดการ
้
ปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมลำาและสร้างเป็นธรรม สำาหรับประเด็นนโยบายรับจำานำาข้าวเปลือก
๓๘ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม <http://library2.parliament.go.th/giventake/ncpo.html> เข้าดูเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘