Page 65 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 65

64 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗









                                    การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำามิได้ เว้นแต่มีคำาสั่งหรือหมายของศาลหรือ
                              มีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                    การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง

                              จะกระทำามิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
                                    ในกรณีที่มีการกระทำาซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย
                              พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อ

                              ให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำาเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำาหนดวิธีการตามสมควรหรือ

                              การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
                                    มาตรา ๓๓  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน

                                    บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถาน
                              โดยปกติสุข

                                    การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการ
                              ตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทำามิได้ เว้นแต่มีคำาสั่งหรือหมายของศาล

                              หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                    มาตรา ๓๙  บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำาการอันกฎหมายที่ใช้
                              อยู่ในเวลาที่กระทำานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำาหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่

                              บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำาหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำาความผิดมิได้
                                    ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด

                                    ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อ
                              บุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำาความผิดมิได้

                                    มาตรา ๔๐  บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้

                                    (๑)  สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
                                    (๒)  สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐาน

                              เรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสาร
                              อย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้าน

                              ผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณา
                              คดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำาวินิจฉัย คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง

                                    (๓)  บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว
                              และเป็นธรรม

                                    (๔)  ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี
                              มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้ง
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70