Page 63 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 63
62 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
การป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ซึ่งประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญาดังกล่าวแล้วก็ตาม จึงเห็นว่า รัฐควรมีกฎหมายที่จะให้การกระทำาดังกล่าวเป็นความผิด
ทางอาญามีบทลงโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำาความผิด และมีกลไกที่เป็นอิสระ
ในการที่จะนำาผู้กระทำาความผิดมาลงโทษ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน กระทรวงยุติธรรมอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... เพื่อให้
สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว รัฐจึงควรบัญญัติร่างกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์
ของอนุสัญญาทั้งสองฉบับ และเร่งให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
ในส่วนของระบบราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมได้ออกกฎกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำาคุก
โดยวิธีการอื่นที่สามารถจำากัดการเดินทางและอาณาเขต พ.ศ. ๒๕๕๖ กำาหนดให้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่ใช้สำาหรับติดตามตัวหรือที่ใช้สวมใส่ข้อมือ ข้อเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่นใดของผู้ซึ่งศาลมีคำาสั่งให้จำาคุก
โดยวิธีการอื่นที่สามารถจำากัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้น โดยเริ่มนำามาปฏิบัติเมื่อเดือนมีนาคม
๒๕๕๗ ถือเป็นความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์และคุมประพฤติที่รัฐดำาเนินการ
เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และลดปัญหาปริมาณผู้ต้องขังในระบบได้ในขณะเดียวกัน
นอกจากนี้ ในปี ๒๕๕๖ รัฐบาลยังได้ดำาเนินโครงการนำาร่องในเรือนจำาบางแห่งเพื่อปลดเครื่องพันธนาการ
ให้แก่ผู้ต้องขังที่จำาตรวนตลอดระยะเวลาที่ถูกคุมขัง และประกาศที่จะขยายผลไปยังเรือนจำาแห่งอื่น ๆ
แต่ปรากฏว่า ยังคงมีเรือนจำาที่ยังคงใช้มาตรการดังกล่าว จึงเห็นควรที่กรมราชทัณฑ์จะเร่งขยายผล
ปัญหาสำาคัญอีกประการหนึ่งของระบบราชทัณฑ์ คือ การขาดแคลนสถานที่ ทำาให้มีการนำา
บุคคลที่เป็นจำาเลย และกฎหมายสันนิษฐานว่า ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ไปควบคุมหรือคุมขังในสถานที่เดียวกัน
กับผู้ต้องขังที่ถูกศาลพิจารณาและพิพากษาแล้ว หรือหลายกรณีมีการนำาผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ตาม
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ ไปเข้ารับการตรวจพิสูจน์ที่สถานที่
ภายในเรือนจำาหรือทัณฑสถาน ทั้งนี้ กฎหมายกำาหนดให้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็น
สถานพยาบาลมิใช่สถานที่คุมขัง ซึ่งเป็นปัญหาที่สมควรได้รับการแก้ไขเป็นการเร่งด่วน
สำาหรับกรณีของผู้พ้นโทษที่รัฐควรให้บุคคลเหล่านั้นสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ
พบว่า ยังมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ที่เป็นอุปสรรค เช่น กรณี
การรับเข้าทำางาน หรือแม้แต่การสมัครเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากยังคงมีชื่อปรากฏ
อยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากร ซึ่ง กสม. ได้เคยมีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
๑๖
กฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ในปี ๒๕๕๕ ทั้งในกรณีของผู้ที่เคย
รับโทษให้จำาคุกถูกจำากัดสิทธิในการเข้ารับราชการ และกรณีทะเบียนประวัติอาชญากร ซึ่งหน่วยงาน
ได้รับข้อเสนอของ กสม. ไปพิจารณาดำาเนินการ แต่ในปี ๒๕๕๗ พบว่า ยังมีเรื่องร้องเรียนในลักษณะ
ดังกล่าว
๑๖ รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๓/๒๕๕๕