Page 60 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 60

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 59












                                      (๓)  ให้ความสำาคัญต่อการแก้ไขปัญหาสภาพเรือนจำาและสถานกักตัว รวมถึง
                                 การขยายสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำาเป็น ... (ข้อ ๓๗)

                                      (๔)  ดำาเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ... (ข้อ ๓๘)

                                      (๕)  พัฒนาระบบตุลาการ ... (ข้อ ๖๒)
                                      (๖)  เร่งปฏิรูประบบยุติธรรม ... (ข้อ ๖๓)
                                      (๗)  เร่งปฏิรูประบบตุลาการ ... (ข้อ ๖๔)

                                      (๘)  ดำาเนินมาตรการต่อไปเพื่อประกันว่าข้อกล่าวหา ... (ข้อ ๖๖)

                                      (๙)  แก้ไขปัญหาการลอยนวลของผู้กระทำาความผิด ... (ข้อ ๖๙)
                                      (๑๐)   ประกันสิทธิของผู้เสียหายและครอบครัว ... (ข้อ ๗๑)
                                      (๑๑)   พิจารณาระบบการลงโทษทางเลือก ... (ข้อ ๗๖)

                                      (๑๒)   ประกันให้มีการแยกเด็กที่กระทำาความผิดออกจากผู้ใหญ่ ... (ข้อ ๗๙)


                            ๒)  สถานการณ์


                                 ๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป

                                      กระบวนการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่รัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุม
                       ความประพฤติและจัดการข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของคนในสังคม เพื่อสร้างให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม
                       ในการออกกฎหมายย่อมเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญให้การรับรอง

                       และคุ้มครองสิทธิของบุคคลไว้มิให้ถูกแทรกแซงโดยรัฐเกินความจำาเป็นย่อมมีความสำาคัญอย่างยิ่ง

                                      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้คุ้มครองสิทธิของบุคคล
                       ในเรื่องนี้ โดยกำาหนดให้รัฐจะต้องดำาเนินนโยบายพื้นฐานด้านกฎหมายและการยุติธรรมในการดูแล
                       ให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง

                       ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                       และโดยบุคคลอื่น และต้องอำานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
                       จึงเป็นการประกันสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมนับตั้งแต่ต้นทาง ได้แก่ การถูกจับกุม ค้น คุมขัง
                       จากเจ้าหน้าที่ตำารวจโดยชอบ การได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม  การได้รับ

                       การพิจารณาสั่งคดีที่เป็นธรรมจากพนักงานอัยการ การพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นธรรมจากศาล สุดท้าย

                       จึงไปสู่สิทธิในกระบวนการยุติธรรมปลายทาง คือ การได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน
                       ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์  ทั้งนี้ แนวความคิดของการลงโทษเป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดเพื่อให้กลับคืน
                       สู่สังคม ซึ่งเมื่อผู้กระทำาผิดพ้นโทษ บุคคลนั้นควรที่จะได้รับโอกาสให้กลับคืนสู่สังคมได้ตามปกติ มีอาชีพ

                                                                   ้
                       มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อป้องกันมิให้กลับไปกระทำาความผิดซำา
                                      ที่ผ่านมา ยังคงพบสถานการณ์ที่บุคคลไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกละเมิด
                       สิทธิมนุษยชน อันเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม โดยมี
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65