Page 67 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 67
66 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
(๕) สนับสนุนการดำาเนินการขององค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือทาง
กฎหมายแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว
๑.๒) สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
๑.๒.๑) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อ ๒
๓. รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะ
ก. ประกันว่า บุคคลใดที่สิทธิหรือเสรีภาพของตนซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้
ถูกละเมิดต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผลจริงจัง โดยไม่ต้องคำานึงว่าการละเมิดนั้น
จะได้กระทำาโดยบุคคลผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่
ข. ประกันว่า บุคคลใดที่เรียกร้องการเยียวยาดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะได้
รับการพิจารณาจากฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอำานาจ หรือจาก
หน่วยงานอื่นที่มีอำานาจตามที่กำาหนดไว้ โดยระบบกฎหมายของรัฐ และจะพัฒนาหนทาง
การเยียวยาด้วยกระบวนการยุติธรรมทางศาล
ค. ประกันว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอำานาจต้องบังคับการให้การเยียวยานั้นเป็นผล
๑.๒.๒) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่น
ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี
ข้อ ๑
๑. การทรมาน หมายถึง การกระทำาใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำาให้เกิดความเจ็บปวด
หรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำาสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจาก
บุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำาหรับการกระทำาซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม
กระทำา หรือถูกสงสัยว่าได้กระทำา หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัว หรือเป็นการบังคับขู่เข็ญ
บุคคลนั้น หรือบุคคลที่สามหรือเพราะเหตุผลใดใด บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ
ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำาโดย หรือ
ด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของ
บุคคลอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งทางการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความ
ทุกข์ทรมานที่เกิดจากหรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวง
ที่ชอบด้วยกฎหมาย