Page 69 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 69
68 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๒) สถานการณ์
๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป
เมื่อพิจารณาสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรอบ ๑๑ ปี
ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ – ๒๕๕๗ พบว่า ในปี ๒๕๕๗ มีจำานวนเหตุการณ์ความไม่สงบ ผู้เสียชีวิต
และผู้บาดเจ็บลดลง โดยจำานวนผู้เสียชีวิตรายวันลดลงจากเดิมประมาณวันละ ๒-๓ คน เหลือ
ประมาณวันละ ๑ คน และจำานวนผู้บาดเจ็บลดลงจากเดิมประมาณวันละ ๔ คน เหลือประมาณวันละ
๑๗
๒ คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑๘
เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำานวน ๗๙๓ ครั้ง
มีผลทำาให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งสิ้น ๙๙๓ คน เป็นผู้เสียชีวิต จำานวน ๓๓๐ คน และบาดเจ็บ
จำานวน ๖๖๓ คน โดยสามารถจำาแนกตามกลุ่มประเภทเหตุการณ์ตามลำาดับ ดังนี้
(๑) เหตุการณ์ยิง จำานวน ๓๖๔ ครั้ง
มีผู้เสียชีวิต ๒๖๑ คน บาดเจ็บ ๒๓๒ คน
(๒) เหตุการณ์วางระเบิด จำานวน ๒๔๖ ครั้ง
มีผู้เสียชีวิต ๔๗ คน บาดเจ็บ ๔๑๗ คน
(๓) เหตุการณ์ก่อกวนสร้างสถานการณ์ จำานวน ๘๗ ครั้ง
ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
(๔) เหตุการณ์วางเพลิง จำานวน ๔๕ ครั้ง
ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
(๕) เหตุการณ์อื่นๆ เช่น การพบผู้เสียชีวิต การปล้นชิงทรัพย์ จำานวนทั้งสิ้น ๕๑ ครั้ง
มีผู้เสียชีวิต ๒๒ คน บาดเจ็บ ๑๔ คน
นอกจากนี้ หากจำาแนกตามพื้นที่เกิดเหตุการณ์เป็นรายจังหวัด ตามลำาดับ ดังนี้
(๑) จังหวัดปัตตานี จำานวน ๒๙๑ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๑๕๒ คน บาดเจ็บ ๒๙๙ คน
(๒) จังหวัดนราธิวาส จำานวน ๒๗๒ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๘๗ คน บาดเจ็บ ๑๖๐ คน
(๓) จังหวัดยะลา จำานวน ๒๐๐ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๘๒ คน บาดเจ็บ ๑๖๖ คน
(๔) จังหวัดสงขลา จำานวน ๓๐ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๙ คน บาดเจ็บ ๓๘ คน
๑๗ สรุปสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำาปี ๒๕๕๗ : ปีที่มีจำานวนเหตุการณ์น้อยที่สุดในรอบ ๑๑ ปี,
สุภาภรณ์ พนัสนาชี และคณะ, คณะทำางานฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ (DSID) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
๑๘ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๗