Page 62 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 62
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 61
F การสอบสวนผู้ต้องหาที่ล่าช้า การใช้วิธีการบังคับขู่เข็ญ การทำาร้ายร่างกาย
การหลอกลวงให้รับสารภาพ
F การพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการที่ล่าช้าเกินสมควร การใช้ดุลยพินิจ
ที่ไม่สุจริต
F การถูกทำาร้ายและการตรวจค้นร่างกายในเรือนจำาโดยไม่คำานึงถึงศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์การปฏิบัติที่ไม่ชอบ การสอบสวน การลด-เลื่อนชั้นของผู้ต้องขัง
รวมถึงความไม่เหมาะสมของการใช้เครื่องพันธนาการและสถานที่ควบคุม
้
ทั้งนี้ กสม. ได้ตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมในส่วนปลายนำาที่เกี่ยวกับงาน
ทัณฑปฏิบัติ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และนักโทษ และได้จัดทำาข้อเสนอแนะต่อ
กรมราชทัณฑ์ให้จัดให้มีห้องจำาเพาะสำาหรับการพบนักโทษเป็นการส่วนตัว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นใน
การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมา กรมราชทัณฑ์ได้ยืนยันถึง
ความมุ่งมั่นในการพัฒนาและการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังโดยคำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยให้เรือนจำาจัดเตรียมห้องทนายความเข้าพบผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดีหรือสถานที่
พบปะที่เหมาะสมซึ่งสามารถนำามาใช้ในการพบนักโทษเพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ๑๕
อนึ่ง ยังมีเรื่องร้องเรียนว่า หน่วยราชการได้กำาหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับราชการ
ว่า “ไม่เคยเป็นผู้ต้องโทษจำาคุกโดยคำาพิพากษาถึงที่สุดให้จำาคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำาโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ” ดังนั้น ผู้พ้นโทษจึงไม่สามารถเข้ารับราชการได้ แม้ว่าจะได้รับการล้างมลทิน
ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินเนื่องในโอกาสสำาคัญต่างๆ แล้วก็ตาม แต่ยังคงมีชื่อปรากฏในทะเบียน
ประวัติอาชญากร ทำาให้ไม่สามารถเข้ารับราชการได้
๓) การประเมินสถานการณ์
โดยที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น และสาเหตุของ
ข้อร้องเรียนยังคงเป็นประเด็นเดิมที่เคยมีการร้องเรียนต่อ กสม. ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องกำาชับ กวดขันให้
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเคารพกฎหมายอย่างจริงจังและปฏิบัติหน้าที่โดยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนเพื่ออำานวย
ความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง
ในปี ๒๕๕๗ ยังคงมีการกระทำาทรมาน และบังคับสูญหายอย่างต่อเนื่อง และหลายกรณี
อาจเกี่ยวข้องกับการกระทำาของเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถนำาตัวผู้กระทำาความผิด
มาลงโทษได้ เช่น กรณีการหายตัวไปของนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ แกนนำาชาวกะเหรี่ยงบ้าน
บางกลอยอำาเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ที่หายสาบสูญไปหลังจากที่ถูกเชิญไปพบเจ้าหน้าที่รัฐ
เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๗ โดยถึงปัจจุบันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถติดตามหาตัวได้
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วย
๑๕ หนังสือกรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ ๐๗๐๕.๑/๓๑๘๒๔ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๗ เรื่อง พิจารณาจัดให้มีห้องพิเศษเพื่อพบนักโทษ