Page 61 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 61
60 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
กรณีร้องเรียนว่า มีการกระทำาที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อาทิ ความไม่ชอบด้วย
กฎหมายของการจับกุม การตรวจค้นเคหสถาน การสอบสวน การคุมขัง การซ้อมทรมาน การหาย
สาบสูญของบุคคล ในขณะที่ระบบราชทัณฑ์ยังคงมีการใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังอย่างไม่เหมาะสม
การควบคุมผู้ต้องขังรวมกับจำาเลยระหว่างการพิจารณาคดีของศาล การขาดแคลนสถานที่ในการ
ใช้ควบคุมผู้ต้องขัง เป็นต้น และผู้พ้นโทษยังไม่สามารถดำาเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้เช่นเดียวกับ
บุคคลทั่วไป
ทั้งนี้ ภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คสช. ได้มีคำาสั่ง
ให้บุคคลที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคม อาทิ นักวิชาการ นักการเมือง และผู้สื่อข่าว มารายงานตัวเพื่อ
ปรับทัศนคติ โดยหลายกรณีถูกควบคุมตัวไว้เป็นระยะเวลานานโดยที่ไม่แจ้งหรือระบุสถานที่ควบคุมตัว
ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทราบ รวมถึงมีการบังคับให้ลงนามในหนังสือสัญญาว่าจะงดการเคลื่อนไหว
ทางการเมือง นอกจากนี้ ได้มีประกาศ คสช. ที่ ๓๗/๒๕๕๗ ที่ ๓๘/๒๕๕๗ และที่ ๕๐/๒๕๕๗ กำาหนด
ให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในกรณีที่เป็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ความผิดต่อความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร คดีความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศ รวมถึง คดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ใช้
เฉพาะแต่การสงคราม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามกระบวนการยุติธรรมปกติ
๒.๒) สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และการดำาเนินงานของ กสม.
ปี ๒๕๕๗ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรม จำานวน ๑๗๔ คำาร้อง โดยหากพิจารณาเปรียบเทียบกับคำาร้องด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ปี ๒๕๕๖ ที่มีจำานวน ๑๓๒ คำาร้อง พบว่า มีการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น
รวมถึงมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้อำานาจของ คสช. จำานวน ๒๖ คำาร้อง เช่น การถูกควบคุมตัว
ออกจากบ้านพักโดยไม่ทราบสถานที่ควบคุม การถูกเรียกให้ไปรายงานตัว และการถูกดำาเนินคดีใน
ศาลทหาร เป็นต้น ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มผู้ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำารวจ รองลงมาเป็น
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และพนักงานอัยการบางส่วน โดยมีลักษณะของการละเมิด ดังต่อไปนี้
F การจับกุมที่ใช้วิธีการเกินกว่าเหตุ ใช้กำาลังเกินสมควร จับกุมโดยไม่มีหมายจับ
ของศาลและไม่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย
F การกลั่นแกล้งกล่าวหาให้ได้รับโทษทางอาญา ดำาเนินคดีกับผู้ที่ไม่ได้กระทำา
ความผิด
F การตรวจค้นเคหสถานของผู้ร้องที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา
F การคุมขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างการสอบสวน ที่เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายให้อำานาจ