Page 66 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 66

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 65












                                 สิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำา

                                 เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
                                      (๕)  ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง

                                 และความช่วยเหลือที่จำาเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และ
                                 ค่าใช้จ่ายที่จำาเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                      (๖)  เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับ
                                 ความคุ้มครองในการดำาเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับ

                                 การปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
                                      (๗)  ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำาเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณา

                                 คดีที่ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบ
                                 หรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร  การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจาก

                                 ทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
                                      (๘)  ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสม

                                 จากรัฐ

                                      มาตรา ๘๑  รัฐต้องดำาเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
                                 ดังต่อไปนี้
                                      (๑)  ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง

                                 รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมาย

                                 แก่ประชาชน และจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรม
                                 ให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม
                                 และการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย

                                      (๒)  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดย

                                 เจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และต้องอำานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่าง
                                 เท่าเทียมกัน
                                      (๓)  จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำาเนินการเป็น

                                 อิสระเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็น

                                 ไปตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้น
                                 ประกอบด้วย
                                      (๔)  จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่

                                 ดำาเนินการเป็นอิสระ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำาเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ

                                 กระบวนการยุติธรรม
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71