Page 70 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 70
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 69
โดยจำาแนกตามสถานะของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นรายจังหวัดได้ ดังนี้
สถานะ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา รวม
เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ
ราษฎร ๔๖ ๕๕ ๖๖ ๑๓๒ ๔๒ ๑๐๗ ๘ ๓๒ ๑๖๒ ๓๒๖
๑๙
เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ๑๙ ๙๖ ๓๔ ๑๒๑ ๒๖ ๔๖ - ๕ ๗๙ ๒๖๘
ครู/นักเรียน นักศึกษา ๒ - ๘ ๓ ๓ - ๑ - ๑๔ ๓
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ๖ ๔ ๑๕ ๘ ๕ ๔ - - ๒๖ ๑๖
ส่วนท้องถิ่น ๒๐
เจ้าหน้าที่รัฐ/รัฐวิสาหกิจ ๒ ๒ ๑๓ ๑๑ ๑ - - - ๑๖ ๑๓
ลูกจ้างของเอกชน - - ๓ ๒ - - - - ๓ ๒
พระสงฆ์ /ผู้นำาศาสนา ๑ - ๒ - - - - - ๓ -
เยาวชนไม่เกิน ๑๕ ปี ๕ ๓ ๓ ๑๙ ๒ ๗ - ๑ ๑๐ ๓๐
คนร้าย ๔ - ๕ - ๑ - - - ๑๐ -
อื่น ๆ ๒ - ๓ ๓ ๒ ๒ - - ๗ ๕
รวม ๘๗ ๑๖๐ ๑๕๒ ๒๙๙ ๘๒ ๑๖๖ ๙ ๓๘ ๓๓๐ ๖๖๓
๒.๒) สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และการดำาเนินงานของ กสม.
โดยที่สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลกระทบต่อ
สิทธิมนุษยชนของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง กสม. จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
ปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจัดตั้งศูนย์ประสานงาน
ด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นบุคลากร
ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อทำาหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำาหรือ
การละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ตลอดจนช่วยเหลือ ตรวจสอบ และรวบรวม
ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ และ กสม. จากผลการดำาเนินการในปี ๒๕๕๗ กสม.
ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ดังนี้
๑๙ หมายถึง เจ้าหน้าที่ทหาร ตำารวจ ตำารวจตระเวนชายแดน หน่วยปฎิบัติการพิเศษ สำานักงานตำารวจแห่งชาติ ชุดรักษาความปลอดภัย
หมู่บ้าน (ชรบ.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และอาสาสมัคร (อส.)
๒๐ หมายถึง สมาชิกองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น กำานัน และผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน