Page 59 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 59
58 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๑.๒.๒) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี
อนุสัญญามีวัตถุประสงค์ เพื่อระงับยับยั้งการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยกำาหนด
ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องดำาเนินมาตรการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันมิให้เกิด
การกระทำาการทรมานในอาณาเขตใดซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำานาจของตน และไม่มีพฤติการณ์
พิเศษใดไม่ว่าจะเป็นภาวะสงคราม หรือสภาพคุกคามที่เกิดจากสงคราม หรือสภาวะ
ฉุกเฉินสาธารณะอื่นใดมาเป็นข้ออ้างสำาหรับการทรมานได้ โดยรัฐภาคีจะต้องประกัน
ว่าการกระทำาทรมานทั้งปวงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของตน และกำาหนดโทษที่
เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำา โดยรัฐภาคีต้องปฏิบัติตามในข้อบทที่ ๑-๑๗
๑.๓) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
อนุสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อระงับยับยั้งการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยการ
กระทำาของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยกำาหนดให้บุคคลจะถูกกระทำาให้หายสาบสูญโดยถูกบังคับ
ไม่ได้และไม่มีพฤติการณ์พิเศษใดไม่ว่าจะเป็นสภาวะสงคราม หรือสภาพคุกคามที่จะ
เกิดสงคราม หรือเหตุอื่นใดมาเป็นข้ออ้างสำาหรับการกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญโดย
ถูกบังคับได้ ซึ่งรัฐภาคีต้องดำาเนินมาตรการที่จำาเป็นเพื่อประกันว่า การหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับเป็นฐานความผิดภายใต้กฎหมายอาญาของตน และต้องดำาเนินมาตรการ
ที่เหมาะสมเพื่อสอบสวนและนำาตัวผู้กระทำาผิดมาดำาเนินคดี และต้องกำาหนดบทลงโทษ
และอายุความที่เหมาะสมและร้ายแรงของความผิด โดยรัฐภาคีต้องปฏิบัติตามในข้อ
บทที่ ๑-๒๕ แม้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างกระบวนการให้สัตยาบันเพื่อ
เข้าเป็นภาคีซึ่งอนุสัญญาฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย แต่รัฐบาลก็จะต้อง
ไม่กระทำาการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (Objects and
Purposes) ของอนุสัญญาดังกล่าว
๑.๓) ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
(๑) รวมคำานิยามของ “การทรมาน” ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้สอดคล้อง
กับข้อ ๑ ของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (ข้อ ๓)
(๒) ออกกฎหมายให้การทรมานเป็นความผิดอาญา และแก้ไขกฎหมายที่
เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน
การทรมาน (ข้อ ๔)