Page 40 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 40
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 39
๑.๒) สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
๑.๒.๑) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ ๒๙
มกราคม ๒๕๔๐ โดยมีการทำาคำาแถลงตีความ ๒ ประเด็น ได้แก่ (๑) เรื่องการกำาหนด
เจตจำานงของตนเอง โดยมิได้หมายรวมถึง การแบ่งแยกดินแดนหรือเอกภาพทางการเมือง
(ข้อ ๑ วรรคหนึ่ง) และ (๒) การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อทำาสงคราม (ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง)
เนื้อหาของกติกาฉบับนี้มี ๖ ส่วน ๕๓ ข้อ ๓ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๒๗) เป็นสาระบัญญัติ
ว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ส่วนที่ ๔ (ข้อ ๒๗-๔๕) ว่าด้วยคณะกรรมการและการเสนอรายงาน
(ข้อ ๔๐) การไกล่เกลี่ยข้อร้องเรียนระหว่างประเทศเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ
ของกติกา ส่วนที่ ๕ (ข้อ ๔๖-๔๗) ว่าด้วยการตีความ และ ส่วนที่ ๖ (ข้อ ๔๗-๕๓)
ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลใช้บังคับการแก้ไข การเก็บรักษาต้นฉบับทั้ง
๕ ภาษา ส่วนที่เป็นสาระบัญญัติ ๒๗ ข้อกำาหนดสิทธิต่าง ๆ ทั้งในส่วนที่เป็นสิทธิของ
ประชาชน ซึ่งว่าด้วยการกำาหนดสิทธิของตนเองของประชาชนในเรื่องการเมือง และ
ความสามารถในการดำาเนินการอย่างเสรีในการจัดการทรัพยากร และพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรมของตน และการประกันสิทธิของรัฐภาคี ที่จะต้องส่งเสริมให้
บังเกิดผลตามสิทธิดังกล่าวโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ สิทธิเหล่านี้รวมถึงสิทธิ
ที่จะมีชีวิตและการยกเลิกโทษประหารชีวิต การห้ามการทรมาน/ลงโทษทารุณโหดร้าย
การมีทาส เสรีภาพในความปลอดภัยของร่างกาย ห้ามการจับกุมโดยมิได้ทำาผิดกฎหมาย
การปฏิบัติต่อผู้ถูกจับกุมด้วยมนุษยธรรม เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย ความ
เสมอภาคในด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมทางศาล สิทธิในสถานะบุคคล
สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิทธิเสรีภาพทางความคิดและศาสนา การห้ามการโฆษณา
ชวนเชื่อเพื่อการสงครามและการเกลียดชังเผ่าพันธุ์ สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ
การรวมตัวเป็นสมาคม การคุ้มครองครอบครัวและการสมรส สิทธิของเด็กในด้าน
การคุ้มครอง การมีทะเบียนเกิดและสัญชาติ การมีสิทธิมีส่วนในการบริหารบ้านเมือง
และสิทธิของชนกลุ่มน้อย
๑.๒.๒) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี
อนุสัญญานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระงับยับยั้งการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยกำาหนด
ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องดำาเนินมาตรการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันมิให้เกิด
การกระทำาการทรมานในอาณาเขตใดซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำานาจของตน และไม่มีพฤติการณ์