Page 29 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 29
28 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากมีความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์ความไม่สงบน้อยที่สุดในรอบ ๑๑ ปี
ภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาโดยการกำาหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน
แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่มีความระมัดระวัง
และตระหนักถึงปฏิบัติการที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนได้มากขึ้น แต่ยังพบว่ามี
ความรุนแรงเกิดขึ้นเป็นระยะ มีเจ้าหน้าที่และประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บ และเป็นที่น่าเสียใจว่า
ในเหตุการณ์หลาย ๆ ครั้ง มีเด็กและสตรีรวมอยู่ด้วย
ในขณะเดียวกัน เรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรมยังคงเป็นประเด็นสำาคัญในพื้นที่ เนื่องจาก
เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำานาจหน้าที่ตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ว่าจะมี
ส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบไปซักถามโดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ มีการควบคุมตัวไว้
ในสถานที่เฉพาะต่าง ๆ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาและร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วน
ของการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบยังมีความล่าช้า ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐควรจัดให้มีกลไก
รับเรื่องร้องเรียนหรืออุทธรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ในปี ๒๕๕๗ ปัญหาสิทธิมนุษยชนและการทุจริตมีความเชื่อมโยงและทวีความรุนแรงมากขึ้น
ในสังคมไทย โดยสืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ทางการเมือง ในช่วง ๔ - ๕ ปีที่ผ่านมา มีผลทำาให้เกิดปัญหา
้
ความเหลื่อมลำา และการมีช่องว่างทางรายได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมาจากนโยบายการจัดการ
ทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีผลกระทบต่อเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนโยบาย
จำานำาข้าวเปลือกของรัฐบาลซึ่งเป็นประเด็นสำาคัญที่มีการอภิปรายต่อต้านรัฐบาลในระหว่างการชุมนุม
ที่ผ่านมา โดยพรรคการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้เสนอเป็นนโยบายหาเสียงเพื่อ
แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย แต่ก็เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดปัญหา
การทุจริตทั้งด้านงบประมาณและเชิงนโยบายและสร้างความเสียหายด้านงบประมาณโดยมียอด
ประมาณการขาดทุนจากการดำาเนินโครงการ ๗ แสนล้านบาท และมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแต่กลับ
ไม่ได้รับเงินจากโครงการประมาณ ๘ แสนครัวเรือน นอกจากนั้น ยังมีสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่สั่งสม
มาจากรัฐบาลในสมัยต่าง ๆ ทั้งการค้ามนุษย์ แรงงานข้ามชาติ แรงงานประมงผิดกฎหมาย การละเมิด
สิทธิมนุษยชนของธุรกิจสัญชาติไทยที่ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการใช้สิทธิของแรงงาน
ในการสมาคม การรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง ทั้งนี้ กสม. เห็นว่า ประเทศไทยควรเข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
สถานการณ์ด้านสิทธิชุมชน
พบว่า รัฐบาลมีความพยายามดำาเนินการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ในปี ๒๕๕๗ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาการบุกรุกและทำาลายทรัพยากร