Page 33 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 33
32 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มผู้สูงอายุ ตลอดจนกลุ่มเด็กและสตรี อีกทั้งยังมีการสนับสนุน
กลไกการมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวในฐานะ “ผู้ทรงสิทธิ (Rights
Holders)” ที่ไม่มากพอ จึงส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ตลอดจนการตอบสนองต่อ
ความต้องการ หรือแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในปี ๒๕๕๗ ในภาวะที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครอง
ของรัฐบาลที่แต่งตั้งโดย คสช. ตลอดจนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ และอยู่ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร กสม. เห็นความสำาคัญที่รัฐบาล
จะต้องส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชน โดยยึดหลักการปกครองโดยระบบนิติรัฐและนิติธรรม การใช้
กฎหมายพิเศษ ตลอดจนการจำากัดสิทธิเสรีภาพ ควรกระทำาเท่าที่จำาเป็น และได้สัดส่วนที่เหมาะสม
กับความรุนแรงของสถานการณ์เท่านั้น นอกจากนี้ รัฐควรเปิดโอกาสรับฟังความเห็นของประชาชน
และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำาเนินนโยบายและมาตรการของรัฐอย่างแท้จริง
สำาหรับข้อท้าทายหรือปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น การที่สังคมไทยกำาลังจะก้าว
เข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ปัญหาการเคลื่อนย้ายคนข้ามพรมแดน
ทั้งที่เป็นแรงงาน ผู้หนีภัย ผู้แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ รวมถึงกระบวนการอาชญากรรมข้ามชาติของ
การค้ามนุษย์ ตลอดจนการลงทุนของธุรกิจข้ามพรมแดนที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้น และซับซ้อนยิ่งขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
๑) เกณฑ์การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
๑.๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑.๑.๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ
เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณี