Page 31 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 31

30 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    และสตรีในที่สาธารณะ รวมถึงการนำาเด็กเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง  ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่มี

                    หน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรีจึงควรมีการพัฒนาทักษะ และเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติต่อเด็ก
                    และสตรี โดยเฉพาะกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงหรือการถูกละเมิด  ในส่วนของการบริการ

                    สาธารณะ รัฐควรมีมาตรการดูแลความปลอดภัยของเด็กและสตรีให้ได้รับความคุ้มครองที่ถูกต้องและ
                    เหมาะสม ในด้านบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รัฐควรออกกฎหมายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                    โดยคำานึงถึงความอ่อนไหวของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำาเนินการใด ๆ
                    ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๗ รัฐมีความพยายามในการดำาเนินการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริม

                    ความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติทางเพศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
                    ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘



                         สถานการณ์ด้านสิทธิผู้สูงอายุ คนพิการ ความหลากหลายทางเพศ และการสาธารณสุข


                         ในปี ๒๕๕๗ ประชากรของประเทศไทย มีจำานวนผู้สูงอายุประมาณ ๑๐ ล้านคน หรือคิดเป็น
                    ร้อยละ ๑๕.๓ ของประชากรทั้งประเทศ  โดยมีการคาดการณ์ว่า ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า สังคมไทยจะ
                    ก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์”  รัฐจึงมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคม

                    ผู้สูงอายุ โดยการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว  ในด้านคนพิการ ประเทศไทยได้มีกฎหมาย

                    ที่ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการที่สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
                    เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติการจัดการ
                    ศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑  และกฎกระทรวงแรงงานที่กำาหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของ

                    สถานประกอบการและหน่วยงานของภาครัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำางาน หรือจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริม

                    และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ในกรณีที่ไม่สามารถรับคนพิการเข้าทำางานได้ เป็นต้น
                    และในส่วนสิทธิด้านสุขภาพ ระบบสุขภาพของไทยยังมีระบบการให้บริการผ่านระบบหลักประกันสุขภาพ
                    แห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการซึ่งยังมีความแตกต่างในการเข้าถึงบริการ

                    ด้านสาธารณสุขและสิทธิประโยชน์ รัฐจึงควรกำาหนดให้ประชาชนมีหลักประกันด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐาน

                    มีคุณภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึง


                         สถานการณ์ด้านสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ และสถานะบุคคล


                         ในปี ๒๕๕๗ ยังมีประเด็นสำาคัญเกี่ยวกับการได้รับสถานะบุคคลตามกฎหมาย การจัดตั้งถิ่นฐาน
                    การประกอบอาชีพ และการดำารงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของกลุ่ม การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน

                    ในการดำารงชีวิตตามมาตรฐานที่เหมาะสม  ซึ่งที่ผ่านมา รัฐได้ดำาเนินมาตรการที่มีความก้าวหน้า
                    ในหลายด้าน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขเยียวยาปัญหาเกี่ยวกับสถานะบุคคล

                    ในหลายมิติ เช่น การจัดทำาทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และการซักซ้อม
                    แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะบุคคล เป็นต้น  ทั้งนี้ ยังพบว่าหน่วยงานรัฐ
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36