Page 25 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 25
24 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
อนึ่ง ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามแนวทางข้างต้น รายงานฉบับนี้ยังได้คำานึงถึง
หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่กำาหนดนัยสำาคัญอื่น ๆ ในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน อาทิ สิทธิบางประการที่เป็นสิทธิที่ไม่สามารถเพิกถอนหรือลิดรอนได้ (Non-Derogable
๒
Rights) ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม เช่น สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน และใน
กรณีที่เป็นสิทธิที่รัฐอาจจำากัดหรือเพิกถอนได้ชั่วคราว (Derogable Rights) ในบางสถานการณ์ที่
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศยินยอมให้รัฐกระทำาได้เพื่อวัตถุประสงค์บางประการ ได้แก่
การเคารพสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น ความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข
๓
หรือเพื่อศีลธรรมของประชาชนแล้ว รัฐก็จะต้องดำาเนินการตามแนวทางที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมาย
ระหว่างประเทศ เช่น มีการบัญญัติไว้เป็นกฎหมายที่ชัดเจนเป็นไปเพื่อเหตุผลที่ชอบธรรม รัฐไม่
สามารถหาวิธีการอื่นมาทดแทนได้ และการใช้อย่างจำากัดและเท่าที่จำาเป็นได้สัดส่วนที่เหมาะสม
กับสถานการณ์ และเป็นมาตรการจำาเป็นในสังคมประชาธิปไตย เป็นต้น หรือกรณีที่สิทธิบางประเภทที่
รัฐจะสามารถทำาให้ก้าวหน้าหรือเป็นจริงได้ อาจต้องดำาเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้ทรัพยากร
ที่มีอยู่ (Progressive Realization of Rights) แต่รัฐจำาเป็นต้องแสดงความมุ่งมั่นและมีแนวทาง
การดำาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ มีการกำาหนดให้บรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน (Progressive
Achievement) เช่น มีแผนการปฏิบัติงาน ระยะเวลา กำาลังบุคลากร ผู้รับผิดชอบ และการติดตาม
ผลการปฏิบัติอย่างแท้จริง มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ/เหมาะสม (Maximum Available
Resources) และไม่มีการเลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination)
ดังนั้น กสม. จะได้นำาเกณฑ์และแนวทางดังกล่าวข้างต้นมาใช้ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
ในรายงานฉบับนี้
๒ ได้แก่ สิทธิที่ปรากฏตามข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง
๓ ข้อ ๑๙ (๓) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง