Page 27 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 27
26 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
บาดเจ็บในช่วงเวลาดังกล่าวยิ่งทำาให้มีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยเข้าร่วมการชุมนุมคัดค้านขยายวงกว้างมากขึ้น
อาทิ กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)
กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กองทัพธรรม
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นต้น ต่อมา กลุ่มต่าง ๆ ได้รวมกันเป็นเครือข่ายต่อต้านรัฐบาล
ในนาม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
๕
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)” มีการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปปิดล้อมสถานที่สำาคัญ
ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และมิให้หน่วยงานสามารถ
ปฏิบัติงานได้ตามปกติ เพราะเห็นว่า รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ โดยเครือข่าย
กปปส. ได้นัดให้มีการชุมนุมใหญ่ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ แต่ในเช้าวันเดียวกัน รัฐบาลได้ประกาศ
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรและกำาหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗ โดยที่ผู้ชุมนุมยังคงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรักษาการลาออกจากตำาแหน่ง และให้มีการปฏิรูป
ประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ รัฐบาลรักษาการได้ประกาศใช้พระราชกำาหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ ๒๒ มกราคม - ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗
การปกครองโดยหลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นหลักการสำาคัญในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยและเป็นการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลว่า ทุกคนจะอยู่ภายใต้กฎหมายอย่าง
เท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ และกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๔ เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
มีแนวโน้มที่จะไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว จึงมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
(Public Order) ในระหว่างการชุมนุมมีการปิดถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร การปิดล้อมและยึด
สถานที่ราชการ รวมทั้งการต่อต้านไม่ให้มีการเลือกตั้ง จนทำาให้เกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ
ผู้ชุมนุม ทั้งยังมีการลอบทำาร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมตามเวทีต่าง ๆ ตลอดจนการปิดล้อมและใช้อาวุธปืนยิงเข้าไป
ในมหาวิทยาลัย รวมถึงการสลายการชุมนุม สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้เสียชีวิต
และบาดเจ็บจำานวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเกิดความรุนแรงมากขึ้น จนในที่สุด คณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) นำาโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าควบคุมอำานาจการปกครองประเทศ
เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยให้เหตุผลถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่
กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศในหลายพื้นที่เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์
ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ตลอดจนเกิดความเสียหายในทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์มี
แนวโน้มขยายต่อจนอาจจะเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และหลังจากที่ คสช. เข้าควบคุม
อำานาจการปกครอง และให้ทุกฝ่ายยุติการชุมนุม ได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๕ นอกจากนั้นยังมีการรวมตัวเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่น ๆ ในหลายพื้นที่ อาทิ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ตลอดจน
การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการนำาของบุคคลทั่วไปในสถานะปัจเจก