Page 32 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 32

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 31











                       ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการพึ่งพิงธรรมชาติและป่า

                       นโยบายของรัฐด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมักจะดำาเนินการ
                       โดยไม่คำานึงถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์  นอกจากนั้น กลุ่มชาติพันธุ์ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิ

                       และสวัสดิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านสาธารณสุข และการศึกษา รัฐจึงควรจัดให้มีบริการขั้นพื้นฐาน
                       ด้านสาธารณสุขและการศึกษา เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลุ่มชาติพันธุ์




                            ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องจากสถานการณ์การชุมนุมอย่างยาวนานที่สำาคัญ  ประการหนึ่ง คือ การปฏิรูป
                                                                                  ้
                       ประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลำาที่เป็นสาเหตุสำาคัญของ
                       ความไม่เท่าเทียมกันมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
                       พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้กำาหนดให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อทำาหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะให้เกิด
                                                ๗
                       การปฏิรูปในด้านสำาคัญต่าง ๆ   ซึ่งล้วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน และมี
                                                                                                        ่
                       ความสัมพันธ์กับสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลและชุมชน เช่น สิทธิในการดำารงชีพตามมาตรฐานขั้นตำา
                       ที่เหมาะสม สิทธิในสุขภาพ สิทธิในการศึกษา และสิทธิในการทำางาน เป็นต้น
                                                                                           ้
                            ที่ผ่านมา รัฐได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลำา โดยมีการออก
                       กฎหมายและมาตรการต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางเพศ การมีนโยบายหรือ

                       มาตรการช่วยเหลือแก่คนพิการและผู้สูงอายุในลักษณะการสร้างการอยู่ร่วมกันภายในสังคม (Social
                       Inclusion) และการจัดการศึกษา เพื่อการส่งเสริมพหุลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น แต่ก็ยัง
                       ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

                            อุปสรรคสำาคัญที่พบ ได้แก่ การกระจุกตัวหรือรวมศูนย์อำานาจการตัดสินใจไว้ที่หน่วยราชการ

                       ส่วนกลาง ประชาชนและชุมชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและมีส่วนร่วมในการกำาหนดนโยบาย
                       และตัดสินใจอย่างแท้จริง การดำาเนินนโยบายที่รวมศูนย์อำานาจครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการ

                       ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ตลอดจนการเมืองการปกครอง โดยในปี ๒๕๕๗ มีปัญหา
                       ที่รุนแรงในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรม

                       และโครงการขนาดใหญ่  ซึ่งมักพบว่า การดำาเนินโครงการของทั้งรัฐและเอกชนมิได้เคารพสิทธิของ
                       ประชาชนและชุมชนที่ได้รับการประกันตามรัฐธรรมนูญ หลายโครงการมิได้มีการประเมินผลกระทบด้าน

                       สุขภาพและสิ่งแวดล้อมตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกระบวนการประเมิน ขาดความ
                       เป็นอิสระ และไม่ครบถ้วนเพียงพอตามหลักวิชาการ  นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถ

                       เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการจากรัฐได้อย่างทั่วถึง และ/หรือมีคุณภาพที่เพียงพอ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์




                       ๗   มาตรา ๒๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำาหนดให้สภาปฏิรูปแห่งชาติดำาเนินการ
                         ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา
                         เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อสารมวลชน สังคม และอื่น ๆ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37