Page 30 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 30

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 29











                                                      ้
                       ป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ และความเหลื่อมลำาในการถือครองที่ดิน  แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                       พุทธศักราช ๒๕๕๐ รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำารุงรักษาและ
                       การได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม

                       และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิด
                       อันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิต แต่ในทางปฏิบัติ ยังคงพบว่ามีชุมชนทั่วประเทศ

                       ที่ได้รับผลกระทบจากการดำาเนินโครงการทั้งของรัฐและเอกชน  รัฐบาลยังคงเน้นการสร้างและขยาย
                       การเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มี

                       การใช้ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติจำานวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม
                       และวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นมาแต่เดิม



                            สถานการณ์ด้านสิทธิในด้านที่ดินและป่า

                                                                           ้
                            ในภาพรวมของประเทศ พบว่ายังคงมีปัญหาความเหลื่อมลำาในการถือครองที่ดิน โดยรัฐยังไม่อาจ
                       กระจายการถือครองที่ดินและช่วยเหลือเกษตรกรให้มีสิทธิในที่ดินได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม
                       การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินอยู่กับคนบางกลุ่ม  ในขณะที่คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนยากจนและ

                       เกษตรกรรายย่อยไม่มีที่ดินถือครองหรือไม่มีโอกาสในการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน  นอกจากนี้ ยังพบ

                       ปัญหาการใช้ระบบการผลิตแบบเกษตรพันธสัญญาที่ไม่ธรรมต่อเกษตรกร  โดยเปิดโอกาสให้บริษัท
                       ทางการเกษตรรายใหญ่สามารถครอบครองปัจจัยการผลิต รวมทั้งที่ดินในจำานวนมาก ส่งผลให้
                       เกษตรกรไม่มีที่ดินทำากิน และกลายเป็นผู้ใช้แรงงานรับจ้างในที่ดินของตนเอง ในขณะที่กลไกรัฐไม่

                       สามารถแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรได้  ซึ่งในปี ๒๕๕๗ คสช. มีความพยายามในการแก้ไขปัญหา
                                                                                  ้
                       การบุกรุกและทำาลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนความเหลื่อมลำาในการถือครองที่ดินดังกล่าว
                       แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า มีการบังคับใช้ ขยายผล และตีความคำาสั่ง คสช. ในบางฉบับที่ส่งผลกระทบ
                       ต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้อง



                            สถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก สตรี และความเสมอภาคทางเพศของบุคคล


                            พบว่า ประเทศไทยมีเด็กด้อยโอกาสและเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา จำานวน ๖.๔ ล้านคน เช่น
                       กลุ่มเด็กเร่ร่อน เด็กไร้สัญชาติ และเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด การค้า
                                                                          ๖
                       บริการทางเพศ การถูกบังคับใช้แรงงาน และการค้ามนุษย์ เป็นต้น    นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความรุนแรง
                       ต่อเด็กและสตรีอย่างต่อเนื่องและมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มเด็กและสตรี

                       ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ รวมทั้งความไม่ปลอดภัยของเด็ก



                       ๖   สำานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.)  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ <www.qlf.or.th>  (สืบค้น
                         เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35