Page 24 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 24
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 23
ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๗ นั้น รายงานจะเทียบเคียง
สถานการณ์และการดำาเนินงานของรัฐกับเกณฑ์หรือมาตรฐานข้างต้น และจะประเมินความก้าวหน้า
หรือถดถอยในด้านนั้น ๆ โดย กสม. เห็นว่า รัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในเบื้องแรกในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภายในเขตอำานาจรัฐ รวมถึงการกระทำาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญชาติไทย
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ โดยรัฐมีความรับผิดชอบใน ๓ ระดับ ดังนี้
หน้าที่ในการเคารพ (Obligation to Respect)
หมายถึง การที่รัฐต้องไม่เข้าไปแทรกแซงการใช้สิทธิของประชาชน
และไม่ทำาการใด ๆ (กระทำา หรือละเว้นการกระทำา) ที่เป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเสียเอง
หน้าที่ในการคุ้มครอง (Obligation to Protect)
หมายถึง รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองบุคคลหรือกลุ่มบุคคล มิให้ถูก
ละเมิดสิทธิจากบุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นใด โดยรัฐต้องมีมาตรการ
ดูแลไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ แต่หากเกิดการละเมิดรัฐต้องเข้ามา
ดูแลให้การคุ้มครอง
หน้าที่ในการทำาให้สิทธิเกิดผลในทางปฏิบัติ ในการจัดทำา/
อำานวยการให้เกิดขึ้นจริง (Obligation to Fulfill)
หมายถึง การที่รัฐต้องดำาเนินการเชิงรุก (Positive Steps)
ในการรับรองหรือประกันสิทธิของประชาชน เช่น การสร้างกรอบ
ทางกฎหมายและนโยบาย รวมถึงการมีมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้
ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิดังกล่าว การช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
และได้ใช้สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองในกฎหมายภายใน
และตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย