Page 22 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 22

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 21











                                 ๖)  อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
                                                       ่
                                     ไร้มนุษยธรรม  หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี  (Convention  Against  Torture  and  Other
                                     Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) มีผลใช้บังคับ

                                     กับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

                                 ๗)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
                                     Disabilities: CRPD) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑

                            นอกจากนี้ ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคล

                       จากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons
                       from Enforced Disappearance : ICPED) โดยได้ลงนาม เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ และยังอยู่

                       ในระหว่างกระบวนการให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคี  แม้ว่าในช่วงดังกล่าว อนุสัญญาฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับ
                       กับประเทศไทย  แต่รัฐบาลต้องไม่กระทำาการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (Objects

                       and Purposes) ของอนุสัญญาดังกล่าว

                            นอกจากสนธิสัญญาหลัก ๗ ฉบับข้างต้นแล้ว  ประเทศไทยยังได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของ

                       สนธิสัญญาข้างต้นในบางฉบับ ซึ่งขยายผลการคุ้มครองสิทธิให้กว้างขวางขึ้นจากสนธิสัญญาหลัก โดย
                       พิธีสารที่ไทยเข้าเป็นภาคีแล้ว มี ๔ ฉบับ ได้แก่

                                 ๑)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

                                     (Optional  Protocol  to  the  Convention  on  the  Elimination  of  All  Forms
                                     of Discrimination Against Women : OP-CEDAW) ซึ่งมีสาระสำาคัญเกี่ยวกับ

                                     การยอมรับอำานาจของคณะกรรมการประจำาอนุสัญญาฯ ในการรับและพิจารณา
                                     ข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ  โดยผู้ร้องเรียนอาจ

                                     เป็นบุคคล กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิดสิทธิก็ได้  ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน
                                     พิธีสารฉบับนี้ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓

                                 ๒)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่าด้วยการขายเด็ก โสเภณีเด็ก และ

                                     สื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights
                                     of the Child on the Sale of Children, Child Prostitution and Child

                                     Pornography : OP-CRC-SC) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าวด้วยการ
                                     ภาคยานุวัติ  เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙

                                 ๓)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่าด้วยสภาวะความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ
                                     (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the

                                     Involvement of Children in Armed Conflict: OP-CRC-AC) ประเทศไทยได้เข้าเป็น

                                     ภาคีพิธีสารฉบับนี้ด้วยการภาคยานุวัติ  เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27