Page 245 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 245

244  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                              (๑)  เพื่อศึกษารูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการนำาเข้าและการส่งออก

                    แรงงานไปต่างประเทศ
                              (๒)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติ

                    ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
                              (๓)  เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่าง

                    ประเทศไทยกับประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย
                              (๔)  เพื่อจัดทำาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย  และการกำาหนดมาตรการในการตรวจสอบการละเมิด

                    สิทธิมนุษยชนด้านการค้ามนุษย์

                              การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) มุ่งเน้น
                    การศึกษารูปแบบของการค้ามนุษย์ที่มีความสลับซับซ้อน  โดยจะทำาการศึกษาอนุสัญญา พิธีสารเกี่ยวกับ

                    การป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน

                    ปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน  สถานการณ์การค้ามนุษย์ของ
                    ประเทศไทย ซึ่งเป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง รูปแบบการจัดการของเครือข่ายการค้ามนุษย์ของ
                    นายหน้า ผู้ค้า ผู้นำาพา ผู้รับ ผู้ควบคุมดูแล และลูกค้าที่ซื้อบริการ บทบาท ข้อจำากัด และปัญหาอุปสรรค

                    ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปัญหา อุปสรรคในการป้องกัน

                    ปราบปรามการค้ามนุษย์ และข้อเสนอแนะต่อความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
                    ในอาเซียนในการแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์







                               โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำาหนด
                       ๓)                       แนวเขตที่ดินของรัฐ

                               ผู้ศึกษาวิจัย :   นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ




                              สาระสำาคัญของการศึกษาวิจัย
                              จากสภาพความเป็นจริงที่พบว่า  ความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรที่ดินมีแนวโน้มเพิ่ม
                    ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจำานวนเนื้อที่ของประเทศยังคงมีเท่าเดิมแต่ประชากรเพิ่มจำานวน

                    มากขึ้น  ความต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการประกอบอาชีพและอยู่อาศัยซึ่งมีความจำาเป็นได้ขยาย

                    อย่างรวดเร็วตามการเพิ่มของประชากรที่ต้องใช้ที่ดินเพื่อทำาประโยชน์  ซึ่งการกำาหนดขอบเขตของพื้นที่
                    โดยภาครัฐกำาหนด และใช้แผนที่แนบท้ายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย ซึ่งมิได้ตรวจสอบพื้นที่จริงโดยละเอียด
                    ทำาให้กระทบกับสิทธิของประชาชนและชุมชน  รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำาหนดเขตการใช้ที่ดิน

                    มติคณะรัฐมนตรี มีขั้นตอนและวิธีการออกกฎหมายแตกต่างกัน  ส่งผลให้เกิดข้อพิพาทเรื่องแนวเขต
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250