Page 231 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 231
230 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ขนาดใหญ่ในประเทศไทย และนำาเสนอผลกระทบของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิม
ท้องถิ่น ร้านค้าโชห่วย รวมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมท้องถิ่น ร้านค้าโชห่วย
ที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
จากผลกระทบของการประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ภาครัฐได้ตอบสนองโดยการพยายามสร้างมาตรการต่าง ๆ เพื่อ
ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิ โครงการรวมพลังโชห่วยสู้วิกฤติ หรือการจัดตั้ง บริษัท รวมค้าปลีก
เข้มแข็ง จำากัด (Allied Retail Trade Co.,Ltd. (ART)) หรือการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ
ร้านค้าปลีกสมัยใหม่แก่ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและเล็ก หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจค้าปลีก
ร้านค้าส่ง ผู้ผลิต และผู้แทนจัดจำาหน่าย และมีนโยบายในการใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่แล้วมาแก้ไข
ปัญหาของการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกต่างชาติในระดับย่อย ได้แก่ กฎหมายผังเมือง และกฎหมายควบคุม
อาคาร และยังได้อาศัยกฎหมายการแข่งขันทางการค้าเข้าช่วยสนับสนุน ในกรณีที่ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่
รายใดมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเอาเปรียบผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือผูกขาดตัดตอนทางการค้า รวมถึงกฎหมาย
คุ้มครองผู้บริโภคสำาหรับกรณีที่มีพฤติกรรมเอาเปรียบผู้บริโภคประกอบด้วย ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการใช้มาตรการ
กฎหมายทางอ้อม
ในส่วนมาตรการทางกฎหมายโดยตรงนั้น พบว่า ภาครัฐได้พยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. …. ซึ่งมีวัตถุประสงค์ควบคุมการจัดระเบียบการประกอบธุรกิจค้าปลีก
ค้าส่ง เพื่อให้การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทุกประเภท สามารถดำารงอยู่ได้ตามสภาพทางเศรษฐกิจการค้า
และสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น แต่การตรากฎหมายฉบับนี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า
ไม่ได้ช่วยผู้ค้ารายย่อย ซึ่งสถานภาพปัจจุบันยังคงอยู่ในระหว่างขั้นตอนการตราเป็นกฎหมาย
ผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับ
หลักการสากลอย่างแนบแน่น เนื่องจากประเทศไทยได้อาศัยนโยบายการพึ่งพิงทุนภายนอกมาโดยตลอด
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกประเภทสมาชิกก่อตั้งขององค์การการค้าโลก (World Trade
Organization) ซึ่งมีผลผูกพันให้ประเทศสมาชิกสร้างขอบข่ายความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ
และยึดนโยบายเสรีนิยมทางการค้า (Liberalize International Trade) เพื่อเพิ่มช่องในการเข้าถึงตลาด
ทางการค้า และความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุน และมีพันธกรณีในการพัฒนา
้
การเปิดเสรีทางการค้า สาขาธุรกิจค้าปลีก ดังนั้น การที่กระบวนทัศน์การพัฒนาประเทศวางนำาหนักไปที่
มิติด้านเศรษฐกิจ ยังผลให้นโยบายการพัฒนาประเทศและการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย
สะท้อนภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนกระบวนทัศน์มิติทางสังคมและมิติทางสิ่งแวดล้อม
เป็นเพียงวาทกรรม หรืออย่างดีก็เป็นได้เพียงนโยบายลำาดับรอง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา
ประเทศทาง “วัตถุ” แต่มิได้พัฒนา “คน”
อย่างไรก็ดี การวางกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศในลักษณะดังกล่าว มีขึ้นมานานแล้ว
ประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ผลพวงของนโยบายและมาตรการส่งเสริมของรัฐที่ผ่านมา ประกอบกับความได้เปรียบ
ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนต่างชาติ กลุ่มทุนเหล่านี้จึงได้เข้ามาประกอบกิจการและลงทุนในประเทศไทย