Page 214 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 214
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 213
(๒) การเพิ่มฐานความผิดท้ายพระราชบัญญัติฯ ให้ครอบคลุมเรื่องความผิดฐานชิงทรัพย์
หรือปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย และความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
(๓) เงื่อนไขการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำาเลยในคดีอาญาให้ได้รับการเยียวยา
จากเดิมที่กำาหนดว่า ..... เมื่อศาลมีคำาสั่งยกฟ้อง หรือวันที่ศาลมีคำาสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง เพราะปรากฏ
หลักฐานชัดเจนว่า จำาเลยมิได้เป็นผู้กระทำาความผิด หรือวันที่มีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้น
ว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำาเลยมิได้เป็นผู้กระทำาความผิด หรือการกระทำาของจำาเลยไม่เป็นความผิด ....
(มาตรา ๒๒) ควรแก้ไขเป็น เมื่อศาลมีคำาพิพากษายกฟ้อง
(๔) ทบทวนผู้ที่จะทำาหน้าที่ในการพิจารณาสั่งจ่ายค่าตอบแทนและค่าทดแทน
ในชั้นพิจารณาและในชั้นอุทธรณ์ จากเดิมที่กำาหนดให้คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและ
ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญามีหน้าที่พิจารณาอนุมัติค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือ
ค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘) และกรณีผู้ยื่นคำาขอไม่เห็นด้วยกับคำาวินิจฉัยของคณะกรรมการ
ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ (มาตรา ๒๕) ควรแก้ไขเป็น ให้เจ้าหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพ รับผิดชอบพิจารณาจ่ายค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว และให้คณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์มีอำานาจหน้าที่พิจารณาคำาสั่งของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ให้คำาสั่งของคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์เป็นที่สุด เพื่อให้การพิจารณาในเบื้องต้นมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นและให้ระบบการตัดสินใจอยู่ในระบบ
ของฝ่ายบริหาร
๒) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) สำานักงานตำารวจ
แห่งชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรศึกษาหลักเกณฑ์ แนวทาง การเยียวยาผู้ต้องหาในคดีอาญา
ที่ถูกควบคุมตัวระหว่างถูกดำาเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน
ผลการดำาเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำาหรับความเห็นของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่ในเรื่องนี้ สำานักเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๕/๒๓๒๕๓ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ แจ้งว่า
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวง
ยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) พิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำานักงาน
ตำารวจแห่งชาติ สำานักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดทำารายงานผลการพิจารณาหรือ
ผลการดำาเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วแจ้งผลการพิจารณาหรือผลการดำาเนินการ
เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อคณะรัฐมนตรี
พิจารณาและมีมติแล้ว สำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้แจ้งผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
ต่อ กสม. ทราบ