Page 216 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 216

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 215











                                 ๒)  เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล

                       ส่วนบุคคล ตามที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
                       ข้อคิดเห็นร่วมอันสำาคัญของคณะกรรมการประจำากติกาดังกล่าว  แนวทางการเพื่อกำาหนดระเบียบว่าด้วย

                       การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทางคอมพิวเตอร์ขององค์การสหประชาชาติ แนวทางการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
                       และการไหลเวียนของข้อมูลข้ามเขตของข้อมูลส่วนบุคคลของ องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

                       และการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD)
                       รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ)

                       และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งรัดผลักดันการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระหว่างที่
                       ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าวก็ควรกำาหนดแนวปฏิบัติหรือคู่มือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปพลางก่อน เพื่อให้

                       ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเอกชนมีแนวทางปฏิบัติ
                                 ๓)  คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ

                       ราชการ) สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาจนำาแนวทางตามพระราช-
                       บัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓ ปรับใช้กับร่างพระราชบัญญัตินี้โดยกำาหนด

                       เป็นหลักการว่า  วิธีคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายต่าง ๆ
                       ให้เป็นไปตามที่กำาหนดในร่างพระราชบัญญัติฯ เว้นแต่กฎหมายนั้นมีหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานการคุ้มครอง
                                                                  ่
                       สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลไม่ตำากว่าหลักเกณฑ์ที่กำาหนดในร่างพระราชบัญญัติฯ
                                 ๔)  คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ

                       ราชการ) สำานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)
                       และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรกำาหนดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกิจการสื่อมวลชน

                       รวมถึงแนวทางเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะ บุคคลที่ควรได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ
                       ในกิจการดังกล่าว ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน อำานวยความสะดวกให้สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับ

                       กิจการสื่อมวลชนทุกสาขา กำาหนดแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่สมาชิก เช่น ให้เป็น
                       ส่วนหนึ่งในมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพ เป็นต้น  โดยคำานึงถึงการได้สัดส่วนกับ

                       วัตถุประสงค์ของกิจการสื่อมวลชน และไม่ละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้อื่น
                                 ๕)  คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ

                       ราชการ) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำาเนินการบริหาร (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล
                       ส่วนบุคคลฯ  ควรกำาหนดขั้นตอนให้สามารถปฏิบัติได้จริง ชัดเจน ไม่ยุ่งยาก ป้องกันการฝ่าฝืนได้ และไม่มี

                       ภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำาเป็น ทั้งแก่ผู้ควบคุมข้อมูลและเจ้าของข้อมูลซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ
                                 ๖)  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข (สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

                       แพทยสภา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรมีหรือใช้มาตรการเพื่อประกันว่าสถานพยาบาลของรัฐและ
                       ของเอกชน แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและที่เป็นเอกชน จะเก็บรวบรวม

                       ใช้และเปิดเผย เก็บรักษา และแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการเกี่ยวกับการบริการ
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221