Page 209 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 209

208  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    ทำาการพิจารณาว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิดได้กระทำาความผิดจริง ยอมกลับใจ และยินยอม

                    เข้ารับการอบรมโดยสมัครใจ
                              ๕)  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม ควรตีความมาตรา ๙ (๑) ประกอบมาตรา ๑๕ ทวิ

                    แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ อย่างเคร่งครัด โดยสามารถกระทำาได้เฉพาะการตรวจค้นร่างกาย
                    ภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถอาศัยมาตรา ๙ (๑) ประกอบมาตรา ๑๕ ทวิ เพื่อการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม

                    (DNA) ได้


                              ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
                              ๑)  พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗

                                  (๑)  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม ควรกำาหนดหลักเกณฑ์ในการใช้บทบัญญัติ
                    ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ เนื่องจากมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ไม่มีเงื่อนไข

                    กำาหนดแน่นอนว่าจะมีการประกาศกฎอัยการศึกได้เมื่อใด และตอนท้ายมาตรา ๒ ยังกำาหนดด้วยว่า
                    “บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายใด ๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับ

                    ต้องระงับและใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน” ซึ่งเงื่อนไขในการใช้บทบัญญัติตาม
                    พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ต้องเป็นกรณีที่เกิดสงคราม หรือจลาจลเท่านั้น และประการสำาคัญต้อง

                    ไม่นำามาใช้กับรัฐประหาร รวมทั้งต้องกำาหนดระยะเวลาในการประกาศใช้ด้วย
                                  (๒)  รัฐสภา ควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ไม่สมควร

                    กำาหนดให้อำานาจผู้บังคับบัญชาทหาร ซึ่งมีกำาลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชา
                    ในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำานาจประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ต่อไป แต่ควรต้องมีการกลั่นกรอง

                    โดยผู้บังคับบัญชาที่มีอำานาจเหนือขึ้นไป  โดยหากจะประกาศใช้กฎอัยการศึกให้มีการเสนอจากผู้บังคับ
                    บัญชาทหารที่อยู่ในพื้นที่ต่อผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการ

                    ทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ แล้วแต่กรณี) เพื่อขอความเห็นชอบ
                                  (๓)  การเยียวยาความเสียหาย คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม และหน่วยงาน

                    ที่เกี่ยวข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ห้าม
                    ผู้ที่ได้รับความเสียหายเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าปรับจากการกระทำาของเจ้าหน้าที่ทหาร  ซึ่งบทบัญญัติ

                    ดังกล่าวขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๘  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
                    สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒ ข้อย่อย ๓ ก.  สมควรให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการ

                    บังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับกติกา
                    ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒ ข้อย่อย ๓ ข.


                              ๒)  พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
                                  (๑)  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕ แห่งพระราชกำาหนด

                    การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อกำาหนดอำานาจของนายกรัฐมนตรีในการขยายระยะเวลา
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214