Page 218 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 218
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 217
เนื่องจากบางประการ เช่น ตาม (๑) และ (๒) อาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญที่กำาหนด
เงื่อนไขว่าให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ
๒) คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ
ราชการ) สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรทบทวนร่างพระราชบัญญัติ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... มาตรา ๔๐ วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
เชิงธุรกิจหรือการพาณิชย์เลิกกิจการให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเชิงธุรกิจหรือการพาณิชย์แจ้งเป็น
หนังสือให้สำานักงานทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เลิกกิจการ” โดยควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการแจ้ง
หรือขึ้นทะเบียน หรือได้รับใบอนุญาตเมื่อก่อตั้งกิจการดังกล่าวด้วย
๓) คณะรัฐมนตรี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร สำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ) สำานักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรทบทวนบทลงโทษในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูล
เครดิต พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖๔ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๔๖
และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... มาตรา ๕๒ ที่กำาหนดให้กรณีนิติบุคคลกระทำา
ความผิด ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ ผู้แทน/ผู้รับผิดชอบ รับโทษด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รู้เห็น
ไม่ยินยอม หรือไม่มีส่วนร่วมในการกระทำาผิดดังกล่าว เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง ที่ว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้
ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด”
๔) คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
ของราชการ) ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำานักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทบทวนมาตรการลงโทษเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ
ในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในกฎหมายต่าง ๆ ในเรื่องนี้ เช่น พระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ ซึ่งมีโทษจำาคุกและปรับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ
ซึ่งมีโทษปรับทางปกครองและโทษอาญา พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตฯ ซึ่งมีโทษ
จำาคุกและปรับ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ซึ่งมีโทษจำาคุกและปรับ โดยให้
เปลี่ยนจากมาตรการลงโทษทางอาญา เป็นมาตรการลงโทษปรับทางปกครองแทน ทั้งยังสอดคล้องกับ
หลักการว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางเลือกด้วย
๕) คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ
ราชการ) สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรทบทวนร่างพระราชบัญญัติ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มาตรา ๗ องค์ประกอบคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้
เทียบเคียงได้กับองค์ประกอบของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ตามพระราชบัญญัติการประกอบ
ธุรกิจข้อมูลเครดิตฯ ซึ่งประธานคณะกรรมการเป็นผู้บริหารของหน่วยปฏิบัติเท่านั้น การให้ประธาน