Page 210 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 210
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 209
ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเมื่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรี
ครั้งแรกสิ้นสุดลงแต่มีความจำาเป็นต้องขยายระยะเวลาควรกำาหนดให้นายกรัฐมนตรีขอความเห็นชอบ
จากรัฐสภา
(๒) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ควรพิจารณาดำาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำานาจ
หน้าที่เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ อยู่ในอำานาจการพิจารณาตรวจสอบของระบบศาลที่ถูกต้อง กล่าวคือ หาก
ข้อพิพาทดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้อพิพาททางแพ่งหรือทางอาญา ควรพิจารณากำาหนดให้อยู่ในอำานาจ
ของศาลยุติธรรม แต่ถ้าข้อพิพาทดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้อพิพาททางปกครองควรพิจารณากำาหนดให้อยู่
ในอำานาจของศาลปกครอง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำา
ทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในอำานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ดังเช่นนานาอารยประเทศ
(๓) รัฐสภา คณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรยกเลิกมาตรา ๑๗ เนื่องจาก
แม้จะไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวกำาหนดไว้ หากพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำานาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามพระราชกำาหนดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ
หรือไม่เกินกว่ากรณีจำาเป็น บุคคลนั้นก็ไม่จำาต้องรับผิดและจะทำาให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
และผู้มีอำานาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำาหนดดังกล่าว มีความระมัดระวังมากขึ้น
และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำาให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน
เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำานาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำาหนดมากยิ่งขึ้น
(๔) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกองอำานวยการ
รักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๑ แห่ง
พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ข้อ ๓.๗ วรรคสอง ซึ่งกำาหนดให้การร้องขอ
ขยายเวลาควบคุมไม่ต้องนำาตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาศาล แต่ต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงเหตุจำาเป็นที่ต้องขอ
ขยายเวลาควบคุมเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นให้ต้องนำาตัวผู้ถูกควบคุมมาศาล
ในทุกกรณี เพื่อให้ทุกฝ่ายได้แสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุผลและความจำาเป็นที่ต้องควบคุมตัวต่อไปหรือไม่
หรือยกเลิกระเบียบในข้อดังกล่าว
(๕) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม สำานักงานตำารวจแห่งชาติและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ควรนำาบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้ในทันทีเมื่อบุคคลใด
ต้องถูกจับและควบคุมตัวตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ไม่ว่าจะเป็นการ
ควบคุมตัวเด็ก เยาวชน ผู้เยาว์ และสตรีหรือบุคคลใด โดยไม่ต้องรอให้ระยะเวลาการควบคุมตัวสามสิบวัน
ตามพระราชกำาหนดผ่านพ้นไปก่อนและต้องมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำาหนดไว้ในประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัด เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรม