Page 211 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 211

210  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                              ๓)  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑

                                  (๑)  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ควรให้ข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำานาจตามพระราช-
                    บัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ อยู่ในอำานาจการพิจารณาของศาลปกครองหากเนื้อหา

                    ของคดีเป็นเรื่องคดีปกครอง  แต่หากเนื้อหาของคดีเป็นเรื่องการกระทำาความผิดอาญา ก็สมควรให้อยู่
                    ในอำานาจพิจารณาของศาลยุติธรรมจึงจะเหมาะสม โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับมาตรา ๑๖ แห่งพระราช-

                    กำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ
                                  (๒)  คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำาหนด

                    หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเยียวยาความเสียหายตามมาตรา ๒๐ เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหาย
                    ให้แก่ประชาชนผู้สุจริตที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน

                    ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑


                              ผลการดำาเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                              ๑)  เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ สำานักงานศาลยุติธรรมแจ้งว่า กระบวนการเข้ารับ

                    การอบรมตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ มาตรา ๒๑ ในขั้นตอนที่เกี่ยวกับ

                    ศาลยุติธรรมมีความโปร่งใส ชัดเจน คำานึงถึงความสมัครใจของผู้ต้องหา โดยศาลรับฟังความจากผู้ต้องหา
                    ก่อนออกคำาสั่งเสมอ จึงไม่ต้องมีคณะบุคคลตามข้อเสนอของ กสม.

                              ๒)  เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ สำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่า
                    ได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นแล้วทำาเป็นรายงานภาพรวมประกอบ

                    การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป รวมทั้งได้แนบความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งพบว่ามีหน่วยงาน
                    ที่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะฯ ของ กสม. เช่น สำานักข่าวกรองแห่งชาติ เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ

                    ด้านความมั่นคงต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส สำานักข่าวกรองแห่งชาติและสำานักงาน
                    สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นพ้องกันว่า การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวควรมีความสมดุลระหว่าง

                    การรักษาความมั่นคงของรัฐและการเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  กองอำานวยการรักษา
                    ความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) รับว่าจะจัดทำาหลักเกณฑ์การเยียวยาความเสียหายแห่งผู้ได้รับผลกระทบ

                    จากการใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ สำานักงานอัยการสูงสุด
                    เห็นว่าควรแก้ไขพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ โดยให้พนักงานอัยการ

                    มีอำานาจพิจารณาการนำาผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดตามกฎหมายนี้เข้าสู่กระบวนการอบรมได้
                              อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานได้ให้ข้อสังเกตต่อข้อเสนอแนะฯ ดังกล่าว เช่น กระทรวงกลาโหม

                    เห็นว่าไม่สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ในขณะนี้ สำานักข่าวกรองแห่งชาติ
                    มีข้อสังเกตว่า ควรคงอำานาจการประกาศใช้กฎอัยการศึกของผู้บังคับบัญชาการทหารที่มีกำาลังอยู่ใต้บังคับ

                    ไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน และอำานาจของนายกรัฐมนตรีในการขยายเวลาประกาศใช้พระราชกำาหนด
                    การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ กอ.รมน. เห็นว่าศาลที่มีอำานาจพิจารณาข้อพิพาทเนื่องจาก

                    การใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ซึ่งปัจจุบันให้เป็นอำานาจของศาลยุติธรรมนั้นเหมาะสมแล้ว
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216