Page 215 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 215
214 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
เรื่องที่ สิทธิ และเสรีภาพส่วนบุคคล
๓ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ๙๑
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวรวมถึงสิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิมนุษยชน
ขั้นพื้นฐานอันได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิใน
ความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และ
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการอยู่หรือพักอาศัย แม้ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มโดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลเป็นเอกชน
ประกอบกับสำานักงาน กสม. ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย
ผศ.ดร.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัญหา
และมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว” จึงเห็นควรจัดทำาเป็น
ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎต่อไป
กสม. ได้มีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี
รัฐสภา สำานักนายกรัฐมนตรี สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำานักงานคณะกรรมการกิจการ
กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา
ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะนโยบาย
๑) โดยที่พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ มีเจตนารมณ์เพื่อให้ประชาชนได้รับ
และมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดและจำากัดเฉพาะ
ข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้ว จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำาคัญของ
เอกชน ส่วนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีเจตนารมณ์เพื่อให้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป เพื่อคุ้มครองบุคคลจากการถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะการนำา
ข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
จนเกิดความเดือดร้อนรำาคาญหรือความเสียหายแก่ผู้นั้น ดังนั้น คณะรัฐมนตรี โดยสำานักนายกรัฐมนตรี
(สำานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ) ซึ่งรับผิดชอบกฎหมายทั้งสองฉบับ ควรบริหารจัดการ
ให้มีมาตรการเพื่อประกันว่า เจ้าหน้าที่ในสังกัดมีความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยบังคับกฎหมาย
ข้างต้นเพื่อให้ต้องด้วยกรณีแต่ละกรณีไป ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แตกต่างกันทั้งสองฉบับ
๙๑ รายงานเลขที่ ๓๑๖/๒๕๕๗