Page 208 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 208
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 207
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
การใช้กฎหมายข้างต้นอาจทำาให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การที่รัฐจะนำากฎหมายหรือ
มาตรการใดมาใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความเป็นระเบียบของสังคม จึงควรคำานึงถึงผล
กระทบด้านสิทธิมนุษยชนควบคู่กับการรักษาความมั่นคง
กสม. ได้มีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี
รัฐสภา สำานักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร สำานักงานตำารวจแห่งชาติ และสำานักนายกรัฐมนตรี สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะนโยบาย
๑) คณะรัฐมนตรี ควรพิจารณาประกาศยกเลิกการบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ในทุกพื้นที่และพิจารณาประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ใหม่
เฉพาะในบางพื้นที่ที่มีความจำาเป็นเท่านั้น เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงและประกาศยกเลิกทันที
ที่สิ้นสุดความจำาเป็น
๒) คณะรัฐมนตรี ควรพิจารณาลดระดับการใช้กฎหมายความมั่นคง เนื่องจากกฎหมาย
ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่จำากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีเหตุผลและ
ใช้อย่างจำากัดเท่าที่จำาเป็น โดยต้องกระทำาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมาย แต่ที่ผ่านมามีการ
้
ใช้กฎหมายความมั่นคงซำาซ้อนกันในบางพื้นที่ ทำาให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเกิดความสับสน รวมทั้ง
้
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการอาจกระทำาละเมิดสิทธิได้ในเขตพื้นที่ซึ่งกฎหมายใช้อย่างซำาซ้อนได้ด้วย ดังนั้น
เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับใดแล้วหากสถานการณ์ดีขึ้นสมควรยกเลิกการใช้กฎหมาย
ความมั่นคงฉบับดังกล่าว โดยอาจเปลี่ยนไปใช้กฎหมายความมั่นคงที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ
้
ประชาชนน้อยกว่า เพื่อไม่ให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายซำาซ้อน และเพื่อให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ
ของประชาชนน้อยที่สุด
๓) คณะรัฐมนตรี ควรพิจารณาอย่างระมัดระวังในกรณีที่จะนำากฎหมายความมั่นคงไปใช้
กับการชุมนุม ซึ่งโดยหลักการกฎหมายความมั่นคงไม่สามารถนำามาใช้กับการชุมนุมที่สงบและปราศจาก
อาวุธได้ เมื่อมีการชุมนุมขึ้นต้องนำากฎหมายที่ใช้ในภาวะปกติมาใช้บังคับก่อน เว้นแต่การชุมนุมโดยสงบ
แปรเปลี่ยนไปสู่สถานการณ์วิกฤติ หรือการจลาจลที่จะกระทบต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความไม่สงบ
เรียบร้อยอย่างร้ายแรง จึงอาจนำากฎหมายความมั่นคงมาบังคับใช้ โดยต้องประกาศใช้กฎหมายที่มีผล
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุดก่อน และไม่สมควรนำาพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาใช้กับการชุมนุมไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น
๔) คณะรัฐมนตรี โดยกองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รวมทั้ง
สำานักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาการเข้าสู่กระบวนการอบรม
ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ ให้ต้องมีคณะบุคคล