Page 121 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 121
120 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
คือ ข้อ ๒๙ การให้อำานาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท
เนื้อหาของอนุสัญญานี้มี ๒ ส่วน ๓๐ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๑๖) เป็นสาระบัญญัติ
ว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของสตรี การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี รวมทั้งการประกันว่าสตรี
และบุรุษมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน โดยรัฐภาคี
มีพันธกรณีสำาคัญที่จะต้องกำาหนดมาตรการเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษ
และสตรี ปรับรูปแบบทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เอื้อต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติ
ต่อสตรี ปราบปรามการลักลอบค้า และแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากสตรี ประกัน
ความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการดำารงชีวิต
ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสนับสนุนให้ดำารง
ตำาแหน่งที่สำาคัญ ความเท่าเทียมกันในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และการศึกษา การ
ได้รับโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน การป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่
ทำางาน ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การประกันความเป็นอิสระ
ด้านการเงินและความมั่นคง ด้านสังคม และการให้ความสำาคัญแก่สตรีในชนบท
ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านกฎหมายแพ่ง และกฎหมายครอบครัว
ซึ่งเป็นการประกันความเท่าเทียมกันในชีวิตส่วนบุคคล ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๑๗-๓๐) เป็นเรื่อง
เกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำาเนินงานของคณะกรรมการ การเสนอรายงาน ผลกระทบ
ของอนุสัญญา และการกำาหนดมาตรการที่จำาเป็น การลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผล
บังคับใช้ การแก้ไข การตั้งข้อสงวน และ การระงับข้อพิพาท
อนุสัญญาฯ มีพิธีสารเลือกรับ ๑ ฉบับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียน
ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียและประเทศ ที่ ๕ ในโลกที่ให้สัตยาบัน
ต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฯ นับเป็น ๑ ใน ๑๐ ประเทศแรกที่ทำาให้พิธีสาร
เลือกรับฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ พิธีสารเลือกรับฯ เป็นกระบวน
การช่วยในการคุ้มครองสิทธิสตรี โดยเปิดโอกาสให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในประเทศ
ที่เป็นภาคีพิธีสารฯ เสนอข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิสตรีต่อคณะกรรมการ
ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการเข้ามาไต่สวนได้
โดยมีเงื่อนไขว่า เรื่องดังกล่าวได้ดำาเนินการโดยกระบวนการแก้ไขการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนในประเทศจนหมดสิ้นแล้ว หรือมีเหตุผลว่ากลไกในประเทศดำาเนินการล่าช้า
กว่าปกติ นอกจากนั้น ยังต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาลของประเทศนั้นก่อนด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีกรณีร้องเรียนของประเทศไทยไปยังคณะกรรมการว่าด้วย
การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีแต่อย่างใด