Page 120 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 120

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 119












                                 มโนธรรม ศาสนา การสมาคม ความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อ และการ
                                 คุ้มครองจากข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตราย การช่วยเหลือบิดามารดาผู้ปกครองให้สามารถ

                                 เลี้ยงดูเด็กได้  การคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งปวง  การดูแลทางเลือกสำาหรับเด็ก

                                 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม การร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย การดูแลเด็กพิการ การดูแล
                                 สุขภาพและการสาธารณสุขสำาหรับเด็กและมารดา  การประกันสังคม  การได้รับ
                                 มาตรฐานการดำารงชีวิตที่เพียงพอ การศึกษา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  การยอมรับ

                                 ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นันทนาการ การคุ้มครองจากการถูกแสวงประโยชน์

                                 ทางเศรษฐกิจ ยาเสพติด ทางเพศ การลักพา ขาย ค้าเด็ก  การคุ้มครองจากการแสวง
                                 ประโยชน์ทุกรูปแบบ  การถูกทรมานหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม การพิพาท
                                 ด้วยอาวุธ  การฟื้นฟูจิตใจและการกลับคืนสู่สังคม  การคุ้มครองเด็กที่ต้องประสบ

                                 ปัญหาด้านกฎหมาย และต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และผลกระทบของอนุสัญญานี้

                                 ต่อกฎหมายเดิมที่มีอยู่  ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๔๒ - ๔๕) ว่าด้วยการเผยแพร่อนุสัญญา
                                 คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก การเสนอรายงาน การส่งเสริมการปฏิบัติตามอนุสัญญา
                                 อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ  ส่วนที่ ๓ (ข้อ ๔๖ - ๕๔) ว่าด้วย

                                 การลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้ การแก้ไข การตั้งและการถอนข้อสงวน

                                      นอกจากนี้ ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาสิทธิเด็ก จำานวน
                                 ๓ ฉบับ  ได้แก่  (๑)  เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันทางกำาลังอาวุธ
                                 (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the

                                 involvement of children in armed conflict)  (๒) เรื่องการขายเด็ก การค้า

                                 ประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional  Protocol  to  the  Convention
                                 on the Rights of the Child on the sale of children, child prostitution and
                                 child  pornography)  และ (๓)  เรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน (Optional Proto-

                                 col to the Convention on the  Rights  of  the  Child  on  a  communications

                                 procedure.)


                                      ๑.๒.๒)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และ
                                             พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

                                             ในทุกรูปแบบ


                                      ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๘
                                 กันยายน ๒๕๒๘ โดยทำาคำาแถลงตีความ ๑ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้ภายในประเทศ

                                 ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปัจจุบันคงเหลือข้อสงวน ๑ ข้อ
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125