Page 126 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 126

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 125











                       พ.ศ. ....” ขึ้น ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘  และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการ ในปี ๒๕๕๐ ซึ่งต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อ

                       เป็น ร่าง “พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ....”  และภายหลังจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร
                       คณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งในปี ๒๕๕๗ ได้นำากฎหมายฉบับนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา

                       นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  ซึ่ง กสม. เห็นว่า ร่างดังกล่าวมีสาระสำาคัญที่อาจนำาไปสู่การเลือกปฏิบัติ
                       โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศได้  จึงได้มีข้อเสนอในการปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวที่สำาคัญ ดังนี้  ๖๔

                                      F  ควรแก้ไขชื่อเป็น “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค
                                         ระหว่างเพศ พ.ศ. ....”  เพื่อให้ครอบคลุมสาระสำาคัญถึงการส่งเสริมโอกาส

                                         และความเสมอภาคระหว่างเพศ
                                      F  ควรบัญญัตินิยาม “การส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ” ว่า

                                         หมายถึงการกำาหนดนโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กลไก มาตรการ หลักเกณฑ์
                                         วิธีดำาเนินการเพื่อส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสิทธิและได้รับความคุ้มครอง

                                         ในด้านต่าง ๆ ด้วยความเสมอภาค รวมทั้งการป้องกันการเลือกปฏิบัติเพราะ
                                         เหตุแห่งเพศ

                                      F  ควรบัญญัตินิยามคำาว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” โดยไม่มี
                                         ข้อยกเว้นใด ๆ

                                      F  ควรเสนอองค์ประกอบและกระบวนการสรรหา รวมทั้งอำานาจหน้าที่ของ
                                         “คณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศแห่งชาติ” ให้มี

                                         ความเหมาะสม



                            ๓)  การประเมินสถานการณ์

                                 ในประเด็นด้านความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ  หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ให้บริการแก่
                       สาธารณะต้องมีความห่วงใยต่อประเด็นความปลอดภัยของเด็กและสตรีเป็นการเฉพาะ สำาหรับหน่วยงาน

                       ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรีควรมีการพัฒนาทักษะ และเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติต่อเด็ก
                       และสตรี โดยเฉพาะกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง หรือการถูกละเมิด

                                 ส่วนปัญหาของเด็กและสตรีข้ามชาติ ควรมีการจัดทำาฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม
                       มิติต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ สัญชาติ และชาติพันธุ์ ภูมิภาค สถานะทางเศรษฐกิจสังคม เพื่อให้สามารถทราบ

                       สถานะของปัญหาได้อย่างชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่อไป
                                 การที่รัฐจะออกกฎหมายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องคำานึงถึงความอ่อนไหวของเด็ก

                       สตรี และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และการดำาเนินการใด ๆ ที่มีผลกระทบควรต้องเปิดโอกาส
                       ให้บุคคลเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทั้งหมดที่กี่ยวข้อง





                       ๖๔  รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๖๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131