Page 117 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 117

116  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    แก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ  การจัดทำาแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน พัฒนาระบบบริหารจัดการ

                    ที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐโดยยึดแนวพระราชดำาริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ เช่น
                    กำาหนดเขตป่าชุมชนให้ชัดเจน  จึงเห็นว่ารัฐบาลควรต้องเร่งให้เกิดมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการลด
                               ้
                    ความเหลื่อมลำาการถือครองและเข้าถึงที่ดินทำากิน เช่น การจัดตั้งธนาคารที่ดิน การใช้ระบบภาษีที่ดิน
                    และสิ่งปลูกสร้างเพื่อแก้ปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน การสนับสนุนร่างกฎหมาย ๔ ฉบับ

                    ของภาคประชาชน ในกรณีของร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... นั้น เห็นว่ารัฐควรใช้มาตรการ
                                        ้
                    ในการลดความเหลื่อมลำา และเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรม เช่น
                    รัฐควรอนุญาตให้มีการจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้  โดยการกำาหนดเงื่อนไขเอื้อให้คนสามารถ
                    อยู่ร่วมกับป่า คำานึงถึงวิถีชีวิตชุมชนก่อนประกาศเขตอนุรักษ์  ตลอดจนให้มีการกระจายอำานาจให้องค์กร

                    ปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน เพื่อให้เกิดกลไกและกระบวนการ
                    ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

                              ในส่วนของปัญหาที่สืบเนื่องจากคำาสั่ง คสช. และแผนแม่บทนั้นเห็นว่า รัฐควรทบทวน
                    มาตรการ และปัญหาในทางปฏิบัติโดยเร่งด่วน และเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้มี

                    ส่วนร่วมในกระบวนการอย่างแท้จริง  โดยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  รัฐควรคำานึงถึงความแตกต่าง
                    ของพื้นที่ที่มีบริบทความเป็นมาของปัญหา  รวมทั้งวัฒนธรรมและวิถีการดำารงชีวิตที่แตกต่างกัน

                    นอกจากนี้ หลายพื้นที่ได้มีกระบวนการแก้ไขปัญหามาอย่างยาวนาน และเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การใช้
                    ข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือธรรมนูญชุมชน ซึ่งหน่วยงานรัฐควรใช้ประโยชน์จากกลไกของชุมชนที่ดีอยู่แล้ว

                              สำาหรับปัญหาสืบเนื่องจากการมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการกำาหนดเขตการใช้ที่ดิน
                    รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี ขั้นตอน และวิธีการที่แตกต่างกันนั้น เห็นว่า  รัฐควรปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับ

                    ที่ดินและทรัพยากรทั้งหมด  โดยอาจทำาเป็น “ประมวลกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากร”
                    ที่มีลักษณะเป็นกฎหมายเพื่อลดการทับซ้อนของกฎหมายหลายฉบับในพื้นที่เดียวกัน ตลอดจนสามารถ

                    จัดการที่ดินและทรัพยากรได้อย่างบูรณาการ  รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
                    รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขระเบียบวิธีปฏิบัติในการสำารวจพิสูจน์สิทธิรวมทั้งการออกเอกสารสิทธิ โดยให้ผู้มี

                    ส่วนได้เสียมีส่วนร่วม  ๕๙
















                    ๕๙  มหาวิทยาลัยมหิดล  สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา.    (๒๕๕๗).    รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
                       กฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า.  กรุงเทพฯ:  สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122