Page 119 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 119

118  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗









                                    บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิ
                              ตามความในหมวดนี้

                                    มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

                              เท่าเทียมกัน
                                    ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

                                    การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง
                              ถิ่นกำาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ

                              บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความ
                              คิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำามิได้

                                    มาตรการที่รัฐกำาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิ
                              และเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

                              ตามวรรคสาม


                              ๑.๒) สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี


                                    ๑.๒.๑) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพิธีสารเลือกรับทั้ง ๓ ฉบับ ได้แก่ พิธีสารเลือก

                    รับเรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พิธีสารเลือกรับเรื่องความเกี่ยวพันของเด็ก
                    ในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ และพิธีสารเลือกรับเรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน


                                    ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖

                              เมษายน ๒๕๓๕  โดยปัจจุบันคงเหลือข้อสงวน ๑ ข้อ คือ ข้อ ๒๒ การดูแลกลุ่มเด็ก
                              ซึ่งเป็นผู้หนีภัยฯ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติ
                              ในประเทศ

                                    เนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มี ๓ ส่วน ๕๔ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑ - ๔๑) เป็นสาระ

                              บัญญัติว่าด้วย สิทธิต่าง ๆ ของเด็ก ประกอบด้วย ความหมายของ “เด็ก” การประกัน
                              สิทธิพื้นฐานของรัฐภาคีต่อเด็กในเขตอำานาจของตน บนสิทธิพื้นฐาน ๔ ประการ คือ
                              สิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะ

                              มีส่วนร่วม การไม่เลือกปฏิบัติ การคำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก การเคารพต่อ

                              ความรับผิดชอบและสิทธิหน้าที่ของบิดามารดา ครอบครัว และสภาพสังคมของเด็ก
                              การประกันสิทธิที่จะมีชีวิต การมีชื่อ มีสัญชาติ เอกลักษณ์ การอยู่ร่วมกันระหว่างเด็กกับ
                              บิดามารดาและครอบครัวและการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน สิทธิเสรีภาพของเด็ก

                              ในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก การแสวงหา/ได้รับข้อมูลข่าวสาร  ความคิด
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124