Page 122 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 122
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 121
๑.๓) ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
การปรับปรุงกฎหมายสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ
(๑๔) ทบทวน “พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ” และยกเลิกข้อ
ยกเว้นต่าง ๆ ในกฎหมายดังกล่าวซึ่งอนุญาตให้มีการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เพื่อให้สอดคล้อง
กับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
(๑๕) เร่งรัดการยกร่างและรับรอง พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ
(๕๐) ดำาเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพในการเข้าถึงการศึกษา
รวมถึงการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันสำาหรับเด็กทุกคน
(๖๙) ห้ามการลงโทษตีเด็กในทุกรูปการ
๒) สถานการณ์สิทธิมนุษยชน
๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดทำาแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติเป็นการเฉพาะ
่
โดยเด็ก หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุตำากว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ และเยาวชน หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘
ปีบริบูรณ์ ถึง ๒๕ ปีบริบูรณ์ โดยนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการพัฒนาเด็ก (พ.ศ. ๒๕๕๕-
๒๕๕๙) ได้กำาหนดเป้าประสงค์ตามแนวทาง “โลกที่เหมาะสมสำาหรับเด็ก” ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์
๑๑ ด้าน และมาตรการที่ต้องดำาเนินการเร่งด่วน คือ ด้านครอบครัว ด้านคุณภาพกายและจิต ด้านการ
เสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก เด็กกับผลกระทบจากโรคเอดส์ ด้านการศึกษา
ด้านนันทนาการ ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ด้านสื่อมวลชน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการปกป้องคุ้มครอง
เด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีแผนยุทธศาสตร์
จังหวัดน่าอยู่สำาหรับเด็กและเยาวชนในทุกจังหวัด ๖๐
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลทางด้านวิชาการระบุว่า ประเทศไทยมีเด็กด้อยโอกาสและ
เด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา จำานวน ๖.๔ ล้านคน โดยในจำานวนนี้เป็นเด็กเร่ร่อน ๓๐,๐๐๐ คน
ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด การขายบริการทางเพศ และอาชญากรรม เป็นเด็กไร้สัญชาติ ๒๐๐,๐๐๐-
๓๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งในจำานวนนี้มีประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คนที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา มีบุตรของแรงงาน
๖๐ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑), หน้า ๖๙