Page 123 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 123
122 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ข้ามชาติ จำานวน ๒๕๐,๐๐๐ คน ปัญหาสำาคัญคือ การขาดโอกาสทางการศึกษา มีเด็กติดเชื้อเอชไอวี
ที่ขาดการยอมรับจากสังคม และมีปัญหาสุขภาพ มีเด็กกำาพร้าประมาณ ๘๘,๐๐๐ คน ที่ถูกทอดทิ้งใน
สถานพยาบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก นอกเหนือจากกลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ถูกบังคับใช้
แรงงาน ค้าประเวณี และติดยาเสพติด เป็นต้น ๖๑ ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ไม่ใช่เป็นปัญหา
ใหม่ในสังคมไทย รัฐบาลเองได้มีนโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘
แต่ปัญหาก็มิได้มีแนวโน้มลดลง ทั้งยังจะมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น เช่น เด็กและสตรีข้ามชาติที่เข้าเมือง
โดยผิดกฎหมายและเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่ผ่านมาเกิดขึ้น
ทั้งในครอบครัว สถานศึกษา และสถานที่สาธารณะ ซึ่งควรจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย เช่น รถโดยสาร
้
สาธารณะ หลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงสังคมจะให้ความสนใจเพียงชั่วคราว แล้วก็เกิดปัญหาซำาเดิมขึ้นอีก
ในปี ๒๕๕๗ ยังเกิดความรุนแรงต่อเด็กและสตรีอันเนื่องมาจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง
โดยมีเด็กอายุ ๓–๑๐ ปี ทั้งที่มิได้เข้าร่วมการชุมนุม แต่ได้รับผลกระทบเสียชีวิต ๔ ราย บาดเจ็บสาหัส ๓ ราย
ในกรณีของเด็กและสตรีข้ามชาติ รวมถึงเด็กและสตรีที่ติดตามแรงงานข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย
จะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานของรัฐได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิทางการ
ศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนขาดระบบการคุ้มครองดูแลบุตรของแรงงาน อีกทั้งยังมีกลุ่มเด็กขอทาน
ที่มีฐานะเป็นผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ในประเด็นด้านสิทธิในการศึกษาสำาหรับเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เน้นหลักการสำาคัญของ
การศึกษาใน ๔ ด้าน คือ การจัดหาให้ (Availability) การเข้าถึง (Accessibility) การมีคุณภาพเป็นที่
ยอมรับได้ (Acceptability) และความสามารถในการปรับให้เข้ากับบริบทของผู้ศึกษา (Adaptability)
ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ระบบการศึกษาไทยยังมีลักษณะการรวมศูนย์ ไม่ตอบสนองต่อผู้ศึกษาอย่างเพียงพอ
และมีปัญหาด้านคุณภาพ โรงเรียนขนาดเล็กซึ่งสามารถที่จะพัฒนาให้เด็กสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและ
สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่กลับมีนโยบายจากส่วนกลางที่จะยุบควบ
รวมโรงเรียนขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง
๖๑ สำานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.) <www.qlf.or.th> เข้าดูเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘