Page 116 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 116

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 115











                       ๑๔ คน  โดยกล่าวหาว่า “ก่อสร้างแผ้วถางเผาป่า หรือกระทำาด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำาลายป่าและ

                       เข้าไปยึดถือครอบครองตลอดจนการก่อสร้างฯ”  ซึ่งผู้ร้องอ้างว่า ที่ดินที่ได้ครอบครองและทำาประโยชน์
                       มีหนังสือสำาคัญเป็นใบจอง (น.ส. ๒) ที่ทางราชการออกให้ตั้งแต่ ปี ๒๕๐๑ และทำาประโยชน์ต่อเนื่องมา

                       จากบรรพบุรษ  และผู้ร้องอ้างว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบและจับกุมดำาเนินคดีกับชาวบ้านอีกประมาณ
                       ๓๐๐ คน ที่อาศัยอยู่ภายในบริเวณดังกล่าว

                                      F  กรณีที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกว่า ๑๐๐ คน อ้างคำาสั่ง ที่ ๖๖/๒๕๕๗ ของ
                       คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าทำาการรื้อถอนและเผาทำาลายบ้านเรือน ทรัพย์สิน รวมทั้งพืชไร่

                       ของผู้ร้องและชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านที่ใช้พื้นที่ดังกล่าว
                       อยู่อาศัยและทำากินมานานกว่า ๓๐ ปี

                                      ปัญหาที่พบอีกประการหนึ่ง คือ ในบางพื้นที่ ชุมชนได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ดิน
                       อย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างประชาชนในพื้นที่กับองค์กรปกครอง

                       ส่วนท้องถิ่น  จนเกิดเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อใช้แก้ไขปัญหา
                       ร่วมกันอย่างสันติ เช่น ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำาบลแม่ทา ว่าด้วยการจัดการป่าชุมชนตำาบล
                                      ๕๘
                       แม่ทา พ.ศ. ๒๕๕๐    แต่ผลของคำาสั่งและแผนแม่บทดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำาเนินการ
                       ตามข้อบัญญัติ และทำาให้กระบวนการจัดการปัญหาโดยประชาชนขาดความต่อเนื่อง




                            ๓)  การประเมินสถานการณ์

                                 เมื่อพิจารณาจากบทบาทของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  กติการะหว่าง
                       ประเทศและข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า โดยเห็นว่า
                                                                                    ้
                       ปัญหาที่ดินและป่าที่สำาคัญ คือ ปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมลำา นอกเหนือไปจากปัญหา
                       ด้านกฎหมาย และการดำาเนินงานของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ

                                 การที่รัฐบาลปัจจุบันได้กล่าวถ้อยแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒
                                                                        ้
                       กันยายน ๒๕๕๗  ให้ความสำาคัญกับการลดความเหลื่อมลำาของสังคม ได้แก่ การแก้ปัญหาการไร้
                                                     ้
                       ที่ดินทำากินของเกษตรกรและการรุกลำาเขตป่าสงวน  โดยการกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ใน
                                    ้
                       พื้นที่ที่ไม่ได้รุกลำา และออกมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกร
                       ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำารวจและวิธีการแผนที่ที่ทันสมัย  แก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขต
                       พื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน  อันก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐโดยให้ความสำาคัญในการ






                       ๕๘  อรอนงค์ พลอยวิเลิศ และกฤษฎา วงศ์วิลาสชัย. (๒๕๕๘). ข้อบัญญัติท้องถิ่น กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ กรณี ตำาบลแม่ทา

                         อำาเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. ดูรายละเอียดเพิ่มเติม <www.codi.or.th/index.php/samples/185-landresolve-case-
                         study/2661-2013-06-16-07-28-37> เข้าดู ณ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๘
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121