Page 113 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 113

112  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการประกาศที่สาธารณประโยชน์ทับที่ทำากิน หรือที่อยู่อาศัยของประชาชน

                    มีการเร่งออกสำารวจที่สาธารณประโยชน์เพื่อออกหนังสือสำาคัญสำาหรับที่หลวง (นสล.) โดยไม่มีการแสวงหา
                    ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนในการพิสูจน์สิทธิ รวมถึงปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ

                    ละเลยการดูแลให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
                                    อนึ่ง รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาที่ดินทำากินให้แก่ราษฎร โดยที่ประชุมคณะกรรมการ

                    นโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่งจัดตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ
                    ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๓ คณะ เพื่อดำาเนินการจัดหาที่ดินทำากิน โดยการจัดหาที่ดินทำากินนั้น

                    จะจัดสรรโดยไม่ให้สิทธิรายบุคคล แต่ให้เป็นสิทธิชุมชนหรือเป็นกลุ่ม พร้อมกับจัดทำาแผนที่มาตรฐาน
                    และข้อมูลที่ดินในภาพรวม  นอกจากนี้ ตั้งแต่ธันวาคม ๒๕๕๗ - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ยังได้จัดสรรที่ดิน

                    ทำากินให้คนรายได้น้อย ๑ หมื่นราย เนื้อที่ ๕.๓ หมื่นไร่ ใน ๔ จังหวัดนำาร่อง เชียงใหม่ มุกดาหาร ชุมพร
                    นครพนม โดยอนุมัติโครงสร้างคณะอนุกรรมการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

                    อนุกรรมการ  โดยจะจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนใน ๓ รูปแบบ ประกอบด้วย พื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีคน
                    อยู่อาศัยพร้อมจัดสรรทันที จำานวน ๕,๐๐๐ ไร่ พื้นที่ที่มีราษฎรเข้าไปทำากินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ จำานวน

                    ๔.๕ ล้านไร่ และพื้นที่ที่ยังต้องพิสูจน์สิทธิ จำานวน ๑๔ ล้านไร่
                                    ในส่วนของภาคประชาชนได้เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ๔ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างพระราช-

                    บัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร พ.ศ. ....  (๒) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย
                    ธนาคารที่ดิน พ.ศ. ....  (๓) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า พ.ศ. ....  และ

                    (๔) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. .... ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำาคัญในการสร้างความ
                                          ้
                    เป็นธรรม ลดความเหลื่อมลำาในสังคมไทย โดยหวังว่าร่างกฎหมายทั้ง ๔ ฉบับนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาที่ดิน
                    กระจุกตัว ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับหน่วยงานรัฐ  โดยเฉพาะในที่ดินของรัฐ เช่น ที่ดินที่อยู่ใน
                         ๕๓
                    เขตป่า   เป็นต้น
                                    โดยสรุป สถานการณ์ด้านที่ดินและป่าในภาพรวมยังคงมีปัญหาที่ส่งผลกระทบด้าน
                    สิทธิมนุษยชน  ไม่ว่าจะเป็นการกำาหนดนโยบายและกฎหมายในการจัดการที่ดินของชุมชนยังขึ้นอยู่กับ

                    หน่วยงานรัฐเป็นหลัก ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ การจับกุมฟ้องร้องดำาเนินคดี
                    กับประชาชนที่มีข้อพิพาทกับรัฐ การไล่รื้อและทำาลายทรัพย์สินของประชาชน ไม่สามารถเข้าไปประกอบ

                    อาชีพในพื้นที่ทำากินเดิม และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  ๕๔



                    ๕๓  ณ เดือนมีนาคม ๒๕๕๘ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติ
                       ว่าด้วยธนาคารที่ดิน พ.ศ. ....  อยู่ระหว่างการปรับปรุงเนื้อหาเพื่อเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ  ส่วน
                       ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า พ.ศ. ....  นายกรัฐมนตรีให้ชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
                       ออกไปก่อน  และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. .... ซึ่งผ่านเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วปัจจุบันอยู่ระหว่าง
                       รอสภานิติบัญญัติแห่งชาติหยิบขึ้นมาพิจารณา
                    ๕๔  มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา. (๒๕๕๗). รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

                       กฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า. กรุงเทพฯ:  สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118