Page 71 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 71
69
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
หมวด ๑ ความผิดต่อชีวิต
มาตรา ๒๘๘ ถึง มาตรา ๒๙๔
หมวด ๒ ความผิดต่อร่างกาย
มาตรา ๒๙๕ ถึง มาตรา ๓๐๐
...............................
๕.๓.๒ กฎกระทรวงกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญา ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายที่จำาเป็นในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินสามหมื่นบาท
(๒) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินสองหมื่นบาท
(๓) ค่าขาดประโยชน์ทำามาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ให้จ่ายใน
อัตราวันละไม่เกินสองร้อยบาท เป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
(๔) ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น นอกจาก (๑) (๒) และ (๓) ให้จ่ายเป็นเงินตามจำานวนที่
คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกินสามหมื่นบาท
ค่าตอบแทนตาม (๑) และ (๒) ให้รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้องและค่าอาหารในอัตราวันละไม่เกิน
หกร้อยบาท
ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย ให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทน
ให้แก่ผู้เสียหายนั้น ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าตอบแทน ให้จ่ายเป็นเงินจำานวนตั้งแต่สามหมื่นบาท แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(๒) ค่าจัดการศพ ให้จ่ายเป็นเงินจำานวนสองหมื่นบาท
(๓) ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ให้จ่ายเป็นเงินจำานวนไม่เกินสามหมื่นบาท
(๔) ค่าเสียหายอื่นนอกจาก (๑) (๒) และ (๓) ให้จ่ายเป็นเงินตามจำานวนที่คณะกรรมการเห็นสมควร
แต่ไม่เกินสามหมื่นบาท
๕.๓.๓ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดำาเนินคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๓
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๓ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๕ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ และ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๘
๔. การประสานงานระหว่างพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่กับพนักงานสอบสวนอื่น
๔.๓ เมื่อมีเหตุสำาคัญหรือกรณีจำาเป็น สมควรให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองทำาการสอบสวน
หรือร่วมในการสอบสวน หรือร่วมในการสอบสวนคดีอาญาในท้องที่ใดก็ให้ผู้กำากับตำารวจภูธรจังหวัด หรือผู้รักษา
ราชการแทนเสนอเหตุผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อสั่งการ
๑๒. อำานาจการควบคุมการสอบสวน
๑๒.๔ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นเป็นการสมควร จะให้พนักงานสอบสอบในจังหวัด